ประวัติความเป็นมา
ก่อนปี ค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือแต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่าง ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก
โครงสร้างของคำสั่งในภาษาเครื่อง
คำสั่งในภาษาเครื่องจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
- โอเปอเรชันโคด (Operation Code) เป็นคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ เช่น การบวก (Addition) การลบ (Subtraction) เป็นต้น
- โอเปอแรนด์ (Operands)เป็นตัวที่ระบุตำแหน่งที่เก็บของข้อมูลที่จะเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปปฏิบัติการตามคำสั่งในโอเปอเรชันโคด
ลักษณะของโปรแกรม
ประกอบด้วยกลุ่มของรหัสคำสั่งซึ่งประกอบด้วยเลขฐานสองเรียงต่อกัน ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทราบเทคนิคการใช้รหัสคำสั่งและจะต้องจำตำแหน่งของคำสั่งและข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ เพราะเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละบริษัทจะใช้ภาษาเครื่องของตนเอง และผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี ดังนั้นการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องจึงมีผู้เขียนอยู่ในวงจำกัด เพราะต้องมีความรู้ทางด้านเครื่องและรหัสของเครื่องจึงจะเขียนโปรแกรมได้ ภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบจะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบใหม่ก็ต้องเขียนโปแกรมใหม่
ข้อดีของภาษาเครื่อง
- เมื่อคำสั่งเข้าสู่เครื่องจะสามารถทำงานได้ทันที
- สามารถสร้างคำสั่งใหม่ๆได้ โดยที่ภาษาอื่นทำไม่ได้
- ต้องการหน่วยความจำเพียงเล็กน้อย
ข้อเสียของภาษาเครื่อง
- ต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งยาวทำให้ผิดพลาดได้ง่าย
- ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดีจึง สามารถเขียนโปรแกรมได้ และถ้าเครื่องที่มี
- ฮาร์ดแวร์ต่างกันจะใช้โปรแกรมร่วมกันไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น