วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์เครือข่าย

1. การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card)
การ์ดเครือข่าย หรือการ์ดแลน หรืออีเธอร์เน็ตการ์ด ทำหน้าที่ในการเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นั้นเข้ากับระบบเครือข่ายได้ เช่น ในระบบแลน เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีการ์ดเครือข่ายที่เชื่อมโยงด้วยสายเคเบิลจึงสามารถทำให้เครื่องติดต่อกับเครือข่ายได้ ส่วนในกรณีเป็นระบบแลนไร้สาย ก็จะต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สาย (Wireless PCI/PCMCIA Card) ร่วมกับอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอกเซสพอยต์ (Wireless Access Point)
2. ฮับ (Hub)
ฮับ คืออุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกันฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ติดต่อยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส(address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต
3. สวิตช์ (Switch)
สวิตซ์ คืออุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเก็ตมาตรวจสอบก่อนแล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีหลายทางไปที่ใด สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
4. เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ทำให้ระบบเครือข่ายที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านของสถาปัตยกรรม หรือมาตรฐานอื่นๆ ให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น สถาปัตยกรรมของเครื่องระดับเมนเฟรมย่อมมีความแตกต่างกับสถาปัตยกรรมเครื่องพีซี แต่ถ้ามีอุปกรณ์เกตเวย์แล้วจะทำให้เครื่องทั้งสองสามารถมีประตูที่ทำให้ทั้งสองระบบเชื่อมโยงกันได้
5. บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับเครือข่ายหลายๆ กลุ่มที่เชื่อมต่อกันเนื่องจากสามารถแบ่งเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันหลายๆ เซกเมนต์แยกออกจากกันได้ ทำให้ข้อมูลในแต่ละเซกเมนต์ไม่ต้องวิ่งไปทั่วทั้งเครือข่าย กล่าวคือบริดจ์สามารถอ่านเฟรมข้อมูลที่ส่งมาได้ว่ามาจากเครื่องในเซกเมนต์ใด จากนั้นจะทำการส่งข้อมูลไปยังเครื่องซึ่งอาจอยู่ในเซกเมนต์เดียวกันหรือต่างเซกเมนต์ก็ได้ ซึ่งความสามารถดังกล่าวทำให้ช่วยลดปัญหาความคับคั่งของข้อมูลในระบบได้
6. รีพีตเตอร์ (Repeater)
รีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ระยะไกลขึ้น คือ รีพีตเตอร์จะปรับปรุงสัญญาณที่อ่อนตัวให้กลับมาเป็นรูปแบบเดิม เพื่อให้สัญญาณสามารถส่งต่อไปได้อีก เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนหลายๆ เซกเมนต์ ซึ่งความยาวของแต่ละเซกเมนต์นั้นจะมีระยะทางที่จำกัด ดังนั้นอุปกรณ์อย่างรีพีตเตอร์ก็จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
7. โมเด็ม (Modem)
โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่งและภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน(Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด โมเด็มภายนอก(External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็น PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
8. เร้าเตอร์ (Router)
ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ เครือข่ายหรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสม เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้องเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและ
สามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ในเส้นทางนั้น

รูปร่างเครือข่าย (Network Topology)

รูปร่างเครือข่ายมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะมีลักษณะการเชื่อมต่อแตกต่างกัน โดยบางรูปแบบมีการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด(point-to-point) และบางรูปแบบมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุด(multipoint)
- การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด(point-to-point) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารสองเครื่อง โดยใช้สื่อกลางหรือช่องทางในการสื่อสารช่องทางเดียวเป็นการจองสายในการส่งข้อมูลระหว่างกันโดยไม่มีการใช้งานสื่อกลางนั้นร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ การเชื่อมต่อลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ทำให้สิ้นเปลืองช่องทางการสื่อสาร
- การเชื่อมต่อแบบหลายจุด(multipoint) เป็นการใช้งานช่องทางการสื่อสารเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะใช้ช่องทางการสื่อสารหนึ่งช่องทางเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารหลายชิ้น โดยมีจุดเชื่อมแยกออกมาจากสายหลัก ดังต่อไปนี้
1) โทโปโลยีแบบ BUS ในระบบเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากในอดีต คือการนำอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายเชื่อมต่อกับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า "บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปแบบของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์(Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับเข้ามายังบัส อีกทั้งเป็นการป้องกันการชนของสัญญาณข้อมูลอื่นที่เดินทางอยู่ใน BUS สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อ เข้าสู่บัสจะไหลผ่านยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัสจะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลผ่านไป จะเห็นได้ว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือแบบ
􀂃 ควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการ สื่อสารภายในเครือข่ายซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์
􀂃 ควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายจะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสารแทนที่จะเป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการสื่อสารส่ง-รับข้อมูลกันอยู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้น
2) โทโปโลยีแบบ RING เหตุที่เรียกการสื่อสารแบบนี้ว่าเป็นแบบ RING เพราะข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่ายจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์แบบ BUS ในแต่ละโหนดจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมา จากสายสื่อสารเพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไป ให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
3) โทโปโลยีแบบ STAR จากการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว(STAR) หลายแฉกโดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมดทั้งภายใน และภายนอกเครือข่าย นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย โดยเชื่อมต่อเข้ากับไฟล์เซิร์ฟเวอร์อีกที
การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล (แต่ในอุปกรณ์รุ่นใหม่สามารถทำการสลับการทำงานและยอมให้ทำงานได้พร้อมกันคือ Switch HUB) โทโปโลยีแบบ STAR เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันเพราะติดตั้งง่ายและดูแลรักษาง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็ตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้

ชั้นมาตรฐาน 7 ชั้น

1. ชั้นกายภาพ (physical layer) เป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งกระแสบิต(Bit Stream) บนตัวกลางสื่อสารซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางกล(Mechanical) และทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronics) ในการอินเตอร์เฟซและตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล รวมถึงการกำหนดหน้าที่และขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ที่จะต้องอินเตอร์เฟซเพื่อการปฏิบัติงานเมื่อเกิดการส่งข้อมูล
2. ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (data link layer) เป็นชั้นที่ทำหน้าที่การส่งข้อมูลในลักษณะ Node-to-Node ซึ่งจะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการเข้าถึงและการใช้งานบนชั้นกายภาพ ด้วยการจะจัดการกับข้อมูลอย่างไรให้อยู่ในรูปแบบของเฟรม เพื่อจะจัดส่งเฟรมนี้อย่างไรบนเครือข่าย โดยต้องมีความวางใจได้ถึงการนำพาข้อมูลจากลำดับชั้นกายภาพที่ปราศจากข้อผิดพลาดใดๆ เพื่อบริการให้กับลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป
3. ชั้นเครือข่าย (network layer)ทำหน้าที่ควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางโดยผ่านจุดต่างๆ บนเครือข่ายให้เป็นไปตามเส้นทางที่กำหนดรวบรวมและแยกแยะข้อมูลเพื่อหาเส้นทางในการส่งข้อมูลที่เหมาะสม
4. ชั้นขนส่ง (transport layer)เป็นชั้นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งข้อมูลในลักษณะ End-to-End ด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือถึงการรับประกันการบริการรับส่งข้อมูล ว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นถึงผู้รับแน่นอน หากเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการส่ง ก็จะมีการส่งใหม่
5. ชั้นส่วนงาน (session layer) ทำหน้าที่สร้างการติดต่อระหว่างเครื่องต้นทางและปลายทาง ตลอดจนดูแลการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องทั้งสองให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพโดยกำหนดขอบเขตการรับ-ส่ง คือกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่งโดยจะเพิ่มเติมรูปแบบการรับ-ส่ง ข้อมูลว่าเป็นแบบข้อมูลชุดเดียว หรือหลายชุดพร้อมๆ กัน เช่น โมดูล(module) ของการนำเสนอผ่านเว็บ หากการสื่อสารภายในชั้นนี้เกิดล้มเหลว ทำให้ข้อมูลเสียหาย ก็อาจจำเป็นต้องเริ่มต้นการทำงานของชั้นนี้ใหม่
6. ชั้นการนำเสนอข้อมูล (presentation layer) จะแปลงข้อมูลที่ส่งมาให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมของเครื่องผู้รับเข้าใจ รวมทั้งการจัดรูปแบบและนำเสนอข้อมูลโดยกำหนดรูปแบบภาษา ชนิด และวิธีการเข้าถึงข้อมูลของเครื่องผู้ส่งให้เครื่องผู้รับเข้าใจ เช่น การนำเสนอผ่านเว็บ การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล
7. ชั้นการประยุกต์ (application layer) เป็นลำดับชั้นซึ่งอนุญาตให้ยูสเซอร์ที่ใช้งานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันต่างๆ สามารถเข้าถึงเครือข่ายโดยจะเตรียมการเพื่อการอินเตอร์เฟซระหว่างยูสเซอร์กับคอมพิวเตอร์ และสนับสนุนการบริการต่างๆ เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ การรีโมตระยะไกลเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือถ่ายโอนข้อมูล การแชร์ฐานข้อมูลและบริการอื่นๆ

โพรโทคอล (Protocol)

โพรโทคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทคอลมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ
ในปี คศ.1977 องค์กร ISO (international Organization for Standard) ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการศึกษาจัดรูปแบบมาตรฐาน และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่ายและใน ปี ค.ศ. 1983 องค์กร ISO ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐานในชื่อของ "รูปแบบ OSI " (Open System Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเชื่อมต่อระบบ คอมพิวเตอร์ อักษร "O" หรือ "Open" ก็ หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตรฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหา สู่ระหว่างกันได้ จุดมุ่งหมายของการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วยการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยฝ่ายผู้ส่งและผู้รับ และจะเริ่มด้วยฝ่ายผู้ส่งต้องการส่งข้อมูลโดยผ่านชั้นมาตรฐาน 7 ชั้น

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สามารถจำแนกตามระยะทางของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
ในความเป็นจริงประเภทเครือข่ายทั้งสามจะนำมาใช้งานบนวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยจุดสำคัญอยู่ที่ลักษณะการใช้งานและระยะทางในการเชื่อมต่อ เช่น หากต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อใช้งานภายในอาคาร หรือสำนักงาน เครือข่ายท้องถิ่นก็ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
1. Local area network (LAN) หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร มีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสูง ประมาณ 10-1000 Mbps สื่อที่ใช้มักจะเป็นสื่อแบบสายสัญญาณ ส่วนใหญ่จะใช้ในองค์กร สำนักงาน เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยหรือเครือข่าย ภายในบริษัท นอกจากนี้เครือข่ายแบบท้องถิ่นยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.1 Peer to Peer เป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยกันไม่เกิน 10 เครื่อง ซึ่งอาจเรียกว่าเวิร์กกรุ๊ป(Workgroup) โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายดังกล่าวจะไม่มีเครื่องใดเฉพาะที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการข้อมูล(Server) ซึ่งทุกๆ เครื่องในเครือข่ายจะมีความเสมอภาคกันหมด โดยแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเป็นได้ทั้งเครื่องลูกข่ายและเครื่องบริการ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเครื่องนั้นถูกร้องขอใช้ทรัพยากรหรือต้องการใช้ทรัพยากรจากเครื่องอื่น
เป้าหมายของเครือข่ายประเภทนี้คือต้องการให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เป็นสำคัญและใช้ต้นทุนต่ำ
1.2 Client/Server เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือหลายเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องศูนย์บริการข้อมูล(Server) ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่าโฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer) โดยเครื่องเซริฟ์เวอร์นี้จะทำหน้าที่ในการควบคุมการเข้าถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์บนเครือข่าย และเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในเครือข่ายส่วนเครื่องไคลเอนต์นั้นก็คือเครื่องลูกข่ายที่จะต้องล็อกอินเข้าสู่เครือข่ายก่อน จึงสามารถใช้บริการทรัพยากรต่างๆ บนเครือข่ายได้
โดยยูสเซอร์แต่ละคนที่ล็อกอินเข้าสู่ระบบนั้นจะมีสิทธิการใช้งานที่แตกต่างกันตามที่ผู้จัดการเครือข่าย(Admin) เป็นผู้กำหนดสิทธิการใช้งานให้ เครือข่ายประเภทนี้จะมีระบบการป้องกันความปลอดภัยที่ดีกว่าแบบ Peer to पीर
2. Metropolitan area network (MAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ซึ่งอาจครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลหรือทั้งอำเภอ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดนี้เกิดจาก การเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่นหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
3. Wide area network (WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากภายในเครือข่ายประกอบไปด้วย เครือข่ายแบบ LAN และ MAN พื้นที่ของเครือข่ายแบบ WAN สามารถครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลก เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการครอบคลุมทั่วโลกก็เป็นเครือข่ายแบบ WAN เครือข่ายหนึ่งเช่นกัน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อเชื่อมโยงให้มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้เพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันและการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้น จากเดิม การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสื่อสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่าย
เพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง

ดาวเทียม (Satellite)

การสื่อสารด้วยดาวเทียม (Satellite Transmission) หรือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียมที่อยู่บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูล ไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียมกับตำแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปให้ลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 23,300 กม. เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม (Transponder) จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีภาคพื้นซึ่งมีกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่อีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัป
ลิงก์" (Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณดาวน์-ลิงก์ (Downlink) ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานีดาวเทียม 1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณ
ดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูลให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านสถานีดาวเทียมเพียง 3 ดวงเท่านั้น
ระหว่างสถานีดาวเทียม 2 ดวง ที่ใช้ความถี่ของสัญญาณเท่ากันถ้าอยู่ใกล้กันเกินไปอาจจะทำให้เกิดการรบกวนสัญญาณซึ่งกันและกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนหรือชนกันของสัญญาณดาวเทียม จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างของสถานีดาวเทียม และย่านความถี่ เช่น ระยะห่างกัน 4 องศา (วัดมุมเทียงกับจุดศูนย์กลางของโลก) ให้ใช้ย่านความถี่ของสัญญาณ 4/6 จิกะเฮิรตซ์ หรือย่าน C แบนด์โดยมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณอัป-ลิงก์เท่ากับ 5.925-6.425 จิกะเฮิรตซ์และมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากับ 3।7-4.2 จิกะเฮิรตซ์
การส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่น ๆ ได้ อีกทั้งยังมีเวลาประวิง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณและที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน

ไมโครเวฟ (Microwave)

การส่งสัญญาณข้อมูลไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่น ในเขตเมืองใหญ่ ๆ หรือในเขตที่ป่าเขา แต่ละสถานีไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณข้อมูล ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นย่านความถี่สูง (2-10 จิกะเฮิรตซ์) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลงหรือหักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้นการติดตั้งจาน ส่ง-รับสัญญาณจึงต้องให้หันหน้าของจานตรงกัน และหอยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกล ปัจจุบันมีการใช้การส่งสัญญาณข้อมูลทางไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกล ๆ หรือระหว่างอาคาร โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะใช้สายเส้นใยนำแสง หรือการสื่อสารดาวเทียม อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูกกว่า และติดตั้งได้ง่ายกว่าและสามารถส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ ด้วย อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ทำให้สื่อกลางไมโครเวฟเป็นที่นิยม คือราคาที่ถูกกว่าดาว

บลูธูท (Bluetooth)

บลูธูทได้นำมาพัฒนาเพื่อใช้สำหรับการสื่อสารแบบไร้สายบนระยะทางสั้นๆ ตั้งแต่10 เซนติเมตร ถึง 10 เมตร มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยแสงอินฟราเรดตรงที่สามารถสื่อสารทะลุสิ่งกีดขวางหรือกำแพงได้ อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารแบบไร้สายด้วยการแผ่คลื่นออกเป็นวงรัศมีรอบทิศทางด้วยคลื่นความถี่สูง สำหรับความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 722 क्ब्प्स เมื่อมีการเชื่อมต่อโดยตรงหรือแบบจุดต่อจุด ในขณะที่การเชื่อมต่อแบบหลายจุด ก็จะทำให้ความเร็วลดลงเหลือประมาณ 57।6 Kbps ในปัจจุบันบลูธูทมักนำไปใช้งานกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น เครื่องพีดีเอ คอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค เครื่องพิมพ์ รวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่

อินฟราเรด (Infrared)

แสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้นที่มักนำไปใช้กับรีโมตคอนโทรลของวิทยุหรือโทรทัศน์ เป็นแสงที่มีทิศทางในระดับสายตา ซึ่งไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้แสงอินฟราเรดมักมีการนำมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์มือถืออุปกรณ์รอบข้างต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องแฟกซ์ และรวมถึงกล้องดิจิตอล อัตราความเร็วปกติในการรับส่งข้อมูลอยู่ระหว่าง 4 - 16 Mbps และปัจจุบันมีการบรรจุช่องสื่อสารอินฟราเรด (Infrared Data Association : IrDA) เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งานสื่อสารแบบไร้สายด้วยอินฟราเรด เช่น เมาส์ คียบอร์ด หรือเครื่องพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการสื่อสารไร้สายบนระยะห่างสั้นๆ นี้กำลังถูกเทคโนโลยีอย่างบลูธูท(Bluetooth) เข้ามาแทนที่

คลื่นวิทยุ (Radio Frequency : RF)

การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุนั้น จะมีคลื่นความถี่ที่แตกต่างกันตามคลื่นของชนิดนั้นๆ เช่น VLF, VHF, UHF, SHF และ EHF เป็นต้น ซึ่งช่วงความถี่อยู่ที่ 104 ถึง 109 Hz โดยคลื่นในช่วงดังกล่าวสามารถนำไปใช้สำหรับการส่งข่าวสาร และการสื่อสารไร้สายได้ โดยมีการเริ่มต้นใช้งานกับ
คลื่นวิทยุ AM (Amplitude Modulation) และคลื่นวิทยุ FM (Frequency Modulation) การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นวิทยุ จะกระทำโดยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยการใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาณหรือเรียกว่าการมอดูเลต ด้วยการรวมกับคลื่นเสียงที่เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกัน ทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สายอีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้นๆ รวมถึงเทคนิควิธีการผสมคลื่นก็จะใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน ดังนั้นเครื่องรับวิทยุที่ใช้งานก็จำเป็นต้องปรับให้ตรงกับคลื่นที่ส่งมาด้วย

สื่อกลางประเภทไร้สาย

สำหรับการสื่อสารแบบไร้สาย การรับส่งข้อมูลโดยทั่วไปจะผ่านอากาศ ซึ่งภายในอากาศนั้นจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่ไว้คอยจัดการกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้น ซึ่งโดยปกติจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. แบบ Directional เป็นแบบกำ หนดทิศทางของสัญญาณ ด้วยการโฟกัสคลื่นนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องทำการรับส่งด้วยความระมัดระวัง โดยจะต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน เช่น การสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ อุปกรณ์รับส่งจำเป็นต้องสื่อสารกันอยู่ในระดับสายตา
2. แบบ Omnidirectional เป็นแบบกระจายสัญญาณรอบทิศทาง ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกไปนั้นจะกระจายหรือแพร่ไปทั่วทิศทางในอากาศ ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเหล่านี้ได้ด้วยการตั้งเสาอากาศเช่น วิทยุกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์
สำหรับช่วงความถี่อื่นๆ เช่น ช่วงความถี่ของแสงอินฟราเรดและคลื่นความถี่สั้น เหมาะกับการนำไปใช้เพื่อการสื่อสารบนพื้นที่ที่จำกัดหรือการสื่อสารระยะใกล้ๆ เช่น ภายในห้อง หรือสำนักงาน โดยปกติแสงอินฟราเรดมักนำมาใช้กับเครื่องวิทยุหรือโทรทัศน์ที่สามารถควบคุมด้วยรีโมตคอนโทรล และรวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้กับเครือข่ายท้องถิ่นแบบไร้สาย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบจุดต่อจุด หรือแบบหลายจุด

เส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable)

เส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนการส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถส่งข้อมูลด้วยอักตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเนื่องจากความสามารถในการส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพ หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งมีความปลอดภัยในการส่งสูง

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) ส่วนใหญ่จะเรียกสั้น ๆ ว่าสายโคแอก(Coax) จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอก มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" ซึ่งชื่อก็บอกความหมายว่าตัวนำทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง โครงสร้างของสายโคแอกประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมากและนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน

สายโคแอกเชียลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สายโคแอกเชียลแบบบาง (Thin Coaxial cable)
- ขนาด 0.64 cm.
- ขนาดเล็ก มีความยืดหยุ่นสูง
- นำสัญญาณได้ไกลประมาณ 186 m.
- ใช้เชื่อมต่อกับ Computer โดยใช้มาตรฐาน Ethernet
2. สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Coaxial cable)
- ขนาด 1.27 cm.
- ขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่า
- ส่งข้อมูลได้ไกล 500 m.
- Network ระยะแรก ใช้เป็น Backbone แต่ปัจจุบันใช้ Fiber

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำ ผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ของสื่อประเภทนั้นๆ ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้
􀁹 แบนด์วิดท์ (Bandwidth)คือแถบความถี่ของช่องสัญญาณ ซึ่งหากมีช่องสัญญาณขนาดใหญ่ ก็จะส่งผลให้ภายในหน่วยเวลาจะสามารถเคลื่อนย้ายปริมาณข้อมูลได้จำนวนมากขึ้น

สื่อกลางประเภทมีสาย
1) สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียวสามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน ในขณะที่มีสัญญาณส่งผ่านสายสายคู่บิดเกลียว 1 คู่ จะแทน
การสื่อสารได้ 1 ช่องทางสื่อสาร (Channel) ในการใช้งานจริง เช่นสายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียว อยู่ภายในเป็นร้อย ๆ คู่ สายคู่บิดเกลียว 1 คู่ จะมีขนาดประมาณ 0।016-0.036 นิ้ว สายคู่บิดเกลียว สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว จะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่งสัญญาณจึงจำเป็นต้องมี "เครื่องขยาย"

(Amplifier) สัญญาณ สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อก ในระยะทางไกล ๆ หรือทุก 5-6 กม। ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี "เครื่องทบทวน" (Repeater) สัญญาณทุก ๆ ระยะ 2-3 กม. เพราะว่าแต่ละคู่ของสายคู่บิดเกลียว จะแทนการทำงาน 1 ช่องทาง สายประเภทนี้มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ
ก) สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถัดชั้นนอกที่หนาอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ข) สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้น ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำ จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างสายคู่บิดเกลียวชนิดนี้ เช่น สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ตามบ้าน


หัวเชื่อมต่อ (Modular Plugs) สายคู่บิดเกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11ที่เป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และหัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเกลียว 4 คู่ ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น ดังรูปที่ 12 จะแสดงสาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45



การติดต่อแบบแบบอนุกรมแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่งได้ 3 แบบคือ

1) สื่อสารทางเดียว (simplex)
การสื่อสารทางเดียว (simplex) เป็นการติดต่อทางเดียว เมื่ออุปกรณ์หนึ่งส่งข้อมูลอุปกรณ์อีกชุดจะต้องเป็นฝ่ายรับข้อมูลเสมอ ตัวอย่างการใช้งานเช่น ในระบบสนามบิน คอมพิวเตอร์แม่จะทำหน้าที่ติดตามเวลาขึ้นและลงของเครื่องบิน และส่งผลไปให้มอนิเตอร์ที่วางอยู่หลาย ๆ จุดให้ผู้โดยสารได้ทราบข่าวสาร คอมพิวเตอร์แม่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูล มอนิเตอร์ต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นผู้รับข้อมูล ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางของข้อมูลเป็นการส่งข้อมูลแบบทางเดียว หรือการส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ หรือการกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น

2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex)
การสื่อสารสองทางครึ่ง (half duplex) เป็นการติดต่อกึ่งสองทางมีการเปลี่ยนเส้นทางในการส่งข้อมูลได้ แต่คนละเวลากล่าวคือ ข้อมูลจะไหลไปในทิศทางเดียว ณ เวลาใดๆ ตัวอย่างการใช้งานเช่น การติดต่อระหว่าง เทอร์มินัลกับคอมพิวเตอร์แม่ ผู้ใช้ที่เทอร์มินัลเคาะแป้นเพื่อสอบถามข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์แม่ ต้องใช้เวลาชั่วขณะคอมพิวเตอร์แม่จึงจะส่งข่าวสารกลับมาที่เทอร์มินัลนั้น ไม่ว่าจะเป็นเทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์แม่ เมื่ออุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งเป็นผู้ส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่เหลือก็จะเป็นผู้รับข้อมูลในเวลาขณะนั้น

3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex)
การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) เป็นการติดต่อสองทาง คือเป็นผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ ตัวอย่างการใช้งานเช่น การติดต่อระหว่างเทอร์มินัลกับคอมพิวเตอร์แม่ บางชนิดที่ไม่ต้องใช้เวลารอสามารถโต้ตอบได้ทันที หรือการพูดคุยทางโทรศัพท์ เป็นต้น

วิธีการถ่ายโอนข้อมูล

การถ่ายโอนข้อมูล คือการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับสัญญาณเข้าไปในเครื่อง สามารถจำแนกได้ 2 แบบคือ
1) การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน คือการส่งข้อมูลครั้งละหลายๆ บิตพร้อมกันไปจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางหลายๆ ช่องทางโดยมากจะเป็นสายนำสัญญาณหลายๆ เส้น โดยจำนวนสายส่งจะต้องเท่ากับจำนวนบิตที่ต้องการส่งแต่ละครั้ง วิธีนี้นิยมใช้กับการส่งข้อมูลระยะทางใกล้และปกติความยาวของสายไม่ควรยาวมากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย
2) การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต ไปบนสัญญาณจนครบจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ สามารถนำไปใช้กับสื่อนำข้อมูลที่มีเพียง 1 ช่องสัญญาณได้ สื่อนำข้อมูลที่มี 1 ช่องสัญญาณนี้จะมีราคาถูกกว่าสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ และเนื่องจากการสื่อสารแบบอนุกรมมีการส่งข้อมูลได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้น การส่งข้อมูลประเภทนี้จึงช้ากว่าการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิต

การสื่อสารข้อมูล

เมื่อกล่าวถึงการติดต่อสื่อสารในอดีตอาจหมายถึงการพูดคุยกันของมนุษย์ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง การใช้ภาษาพูดหรือผ่านทางตัวอักษร โดยเป็นการสื่อสารในระยะใกล้ๆ ต่อมาเทคโนโลยีก้าวหน้าได้มีการพัฒนาการสื่อสารเข้ากับการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลขึ้นและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น การใช้โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารเองก็ได้รับการพัฒนาความสามารถขึ้นมาเป็นลำดับ และเข้ามามีบทบาททุกวงการ ดังนั้นยุคสารสนเทศนี้การสื่อสารข้อมูลจึงหมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงหรือวีดีทัศน์ระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสารซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้องค์ประกอบหลักของระบบสื่อสารข้อมูลมีอยู่ 5 อย่าง ได้แก่
- ผู้ส่ง(sender)
- ผู้รับ(receiver)
- ข่าวสาร(message)
- สื่อกลาง(media)
- โพรโทคอล(protocol)

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว
การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2) ความถูกต้องของข้อมูล
โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วในการทำงาน
โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4) ต้นทุนประหยัด
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น เราสามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

ระบบเครือข่ายและการสื่อสารบนเครือข่าย

การติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว เช่น โทรศัพท์ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ต่อมามีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ความต้องการในการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ที่เรียก ระบบเครือข่าย (Network System) ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
ในตอนเริ่มต้นของยุคสื่อสารเมื่อประมาณ พ।ศ। 2513 – 2515 ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันมีมากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ยังมีราคาสูงมาก เมื่อเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่แล้วบางอย่างการสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายในระยะนั้นจึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้บริการโดยผู้ใช้สามารถติดต่อผ่านเครื่องปลายทาง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยของไมโครคอมพิวเตอร์ พบว่าขีดความสามารถในด้านความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีความเร็วมากกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ประมาณ 10 เท่า แต่ราคาแพงกว่าหลายพันเท่า ทำให้การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายและกระจายออกไป การสื่อสารจึงกลายเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องแทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กับเครื่องปลายทางแบบกระจาย
ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็กๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกันขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นทั้งระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงานในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบันระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ
ข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์สามารถส่งต่อ คัดลอก จัดพิมพ์ทำสำเนาได้ง่าย เมื่อเทียบกับการคัดลอกด้วยมือซึ่งต้องใช้เวลามากและเสี่ยงต่อการทำข้อมูลผิดพลาดอีกด้วย วิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูล กำลังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงานที่เรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) ระบบดังกล่าวนี้มักเรียกย่อกันสั้นๆ ว่า โอเอ (OA) เป็นระบบที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานที่เกี่ยวกับเอกสารทั่วไป แล้วส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อโอนย้ายแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ระหว่างแผนกซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือไกลกันคนละเมืองก็ได้ โดยการส่งข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภทที่สามารถผนวกเข้าหากันเป็น
ระบบเดียวได้ อุปกรณ์เหล่านั้นอาจเป็นโทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายซึ่งนักเรียนจะได้เรียนต่อไป
บทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่ง คือการให้บริการข้อมูล หลายประเทศจัดให้มีฐานข้อมูลไว้บริการ เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ ฐานข้อมูลของสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ในมหาวิทยาลัยอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือและตำราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อมายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น การติดต่อจะผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้การได้รับข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หน้าต่างฟอร์ม

คือ ส่วนที่ใช้ในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ของซอฟต์แวร์ที่จะสร้างขึ้น โดยผู้พัฒนาระบบจะต้องนำคอมโพเนนต์ต่าง ๆ มาวางบนฟอร์มในการสร้างต้องมีฟอร์มอย่างน้อย 1 ฟอร์มเสมอ โปรแกรมจะสร้างให้อัตโนมัติเสมอเมื่อมีการเปิดโปรแกรมและตั้งชื่อให้เป็น Form 1 เสมอ

ส่วนประกอบของหน้าต่างหลักภาษาเดลฟาย

- หน้าต่างฟอร์ม
- หน้าต่างคุณสมบัติของวัตถุ มี 2 แท็บ
* แท็บคุณสมบัติ
* แท็บเหตุการณ์
- หน้าต่างเอดิเตอร์

รูปแบบของคอมโพเนนต์

- ปุ่ม (Button)
- ข้อความ (Label)
- ช่องสำหรับกรอกข้อความ (Edit Box)
- รูปภาพ (Image)

การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ

นำหลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุมาใช้และทำให้การเขียนง่ายขึ้น โดยมีอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก โดยผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถสร้างชิ้นงานได้และสามารถเห็นผลงานตั้งแต่ขณะที่กำลังสร้าง โดยไม่ต้องรอให้สร้างจนเสร็จสมบูรณ์ เครื่องมือที่ระบบเตรียมให้เรียกว่า “คอมโพเนนต์” (component)
ปัจจุบันมีการใช้หลักการเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพหลายภาษา เช่น ภาษาวิชวลเบสิก ภาษาเดลฟาย

การโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ

วัตถุ คือ ส่วนย่อย ๆ ของโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะอย่างแล้วจึงนำวัตถุย่อย ๆ มาประกอบกันเป็นโปรแกรมใหญ่
วัตถุที่สร้างขึ้นมาแล้ว สามารถนำกลับไปใช้กับโปรแกรมอื่นได้อีก โดยผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องสร้างวัตถุเองทุกชิ้น สามารถนำวัตถุที่ผู้อื่นสร้างไว้มาใช้ใหม่ได้ เพียงแค่รู้ว่าวัตถุนั้นทำหน้าที่และเรียกใช้งานอย่างไร เช่น ภาษาจาวา ภาษาซีชาร์ป

คำสั่งในภาษาปาสคาลตามลักษณะการทำงาน

- คำสั่งกำหนดค่า( assignment statement)
- คำสั่งนำข้อมูลออก (output statement)
- คำสั่งนำข้อมูลเข้า (input statement)
- คำสั่งควบคุมลำดับการทำงานของโปรแกรม (control statement)

คำสั่งกำหนดค่า( assignment statement)
เป็นคำสั่งใช้ในการกำหนดค่าให้กับตัวแปร ซึ่งได้ประกาศไว้ในส่วนประกาศ


คำสั่งนำข้อมูลออก (output statement)
เป็นคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์หรือข้อความที่ต้องการออกทางอุปกรณ์ส่งออก เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์

คำสั่งนำข้อมูลเข้า (input statement)
เป็นคำสั่งที่สั่งให้นำข้อมูลจากอุปกรณ์รับเข้าซึ่งอาจเป็นแผงแป้นอักขระเข้าสู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปเก็บในตัวแปรที่มีการประกาศในส่วนประกาศ

คำสั่งควบคุมลำดับการทำงานของโปรแกรม (control statement)
- การควบคุมเกี่ยวกับการทำงานตามเงื่อนไข
- การทำงานแบบทำซ้ำตามที่ได้ออกแบบไว้
- คำสั่งจะสอดคล้องกับการทำงานของโครงสร้างควบคุม

ส่วนอธิบายโปรแกรม
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขในภายหลังก็สามารถทำได้ โดยการใส่เครื่องหมายที่ทำหน้าที่ซ่อนข้อความหลังเครื่องหมายนั้นจากตัวแปลภาษาในขั้นตอนของการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ตัวแปลภาษาจะข้ามข้อความเหล่านั้นไป เครื่องหมายนั้นได้แก่ (*คำอธิบาย*)

โครงสร้างภาษาปาสคาล

1. ส่วนประกาศ (declaration part)
2. ส่วนคำสั่ง (statement part)

ส่วนประกาศ (declaration part)
PROGRAM Average_1; (*Declaration part*)
Var Sum, N, data : integer;
average : real;
ส่วนคำสั่ง
Begin (*main program*)
Write(‘The program will calculate the average of’); (*output statement*)
Write(‘ five integers you enter through the keyboard..’);
WriteIn;
sum :=; (*assignment statement*)
N :=1;
WHILE N <=5 Do (*while loop*)
begin
Write(‘Please enter the number :’);
ReadIn(data); (*input statement*)
sum :=sum+data;
N :=N+1; (*end of while loop*)
End;
Average :=sum5;
Write(‘The average of five numbers is’ ,Average : 6:2);
End. (*end of program*)

ตัวอย่างการทำงานของโปรแกรม

The program will calculate the average of five
Integers you enter through the keyboard…..
Please enter the number : 0
Please enter the number : 3
Please enter the number : 4
Please enter the number : 8
Please enter the number : 12
The average of five numbers is 13.50

การแก้ปัญหากับภาษาปาสคาล

ปาสคาลเป็นภาษาระดับสูงที่ใช้หลักการโปรแกรมโครงสร้างในการเขียนโปรแกรมและเป็นภาษาที่เป็นระบบซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม
โดยแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อย ๆ ชัดเจน จากนั้นจึงค่อยนำมาเชื่อมโยงทำให้สามารถจัดการได้ง่าย

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สัญลักษณ์ของผังงานที่ใช้บ่อย ทิศทาง

จุดเชื่อมต่อหน้ากระดาษ

จุดเชื่อมต่อผังงาน

การปฏิบัติงาน

การรับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล

เริ่มต้นและจบ

ปัญหา คือ สิ่งที่เรายังไม่ทราบคำตอบ และ ยังไม่ทราบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาโจทย์
nลองผิด ลองถูก
nการใช้เหตุผลประกอบ
nวิธีขจัด
nการใช้ตารางแสดงความสัมพันธ์

กระบวนการที่จำเป็นในการแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ
1) การทำความเข้าใจปัญหา - ทำความเข้าใจถ้อยคำต่าง ๆ ในปัญหา - แยกแยะให้ออกว่าสิ่งที่ต้องการหาคืออะไร - ข้อมูลและเงื่อนไขกำหนดให้มีอะไรบ้าง เพียงพอที่จะหาคำตอบได้หรือไม่
2) การวางแผนในการแก้ปัญหา แบ่งได้ 2 กรณีคือ
1 มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาในลักษณะนั้น ๆ มาก่อน
- พิจารณาสิ่งที่ต้องการหา
- เลือกปัญหาเก่าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปัญหาที่จะแก้ทำให้ได้แนวทาง
- ปรับปรุงแนวทางในการแก้ปัญหาเก่าให้สอดคล้องเหมาะสมกับปัญหาใหม่
- วางแผนแก้ปัญหา
2 ไม่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาลักษณะนี้มาก่อน
- พิจารณาสิ่งที่ต้องการหา
- หาวิธีการเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ต้องการหากับข้อมูลที่มีอยู่
- พิจารณาดูว่า ความสัมพันธ์นั้นสามารถหาคำตอบได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือหาความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น
- วางแผนแก้ปัญหา
2.3 ดำเนินการแก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ เมื่อวางแผนเสร็จแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหา ตามแผนที่วางไว้ ระหว่างการดำเนินการ ถ้าเห็นแนวทางอื่นที่ดีกว่า ก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนได้
2.4 ตรวจสอบการแก้ปัญหา เมื่อได้วิธีการแก้ปัญหาแล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบว่า วิธีการที่ใช้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องหรือไม่
3) ดำเนินการแก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้
เมื่อได้มีการวางแผนแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหา ระหว่างการดำเนินการแก้ปัญหา อาจทำให้เห็นแนวทางที่ดีกว่าที่คิดไว้ก็สามารถ ปรับเปลี่ยนได้
4) การตรวจสอบ
ป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบผลลัพธ์ว่า ได้ดำเนินการ แก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ถูกต้องหรือไม่ กระบวนการแก้ปัญหา สามารถสรุปออกมาเป็นแผนภาพดังนี้








ชื่อ.......................................................ห้อง............เลขที่....................ว/ด/ป...................

เรื่อง กระบวนการแก้ปัญหา
ตอนที่ 1
สมมติว่าโรงเรียนของท่านมีปริมาณขยะที่ตกตามพื้นโรงเรียนจำนวนมากซึ่งเกิดจาก
การทิ้งขยะไม่เป็นที่ ให้นักเรียนวางแผนแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา
1. ขั้นการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
2. ขั้นการเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
3. ขั้นการดำเนินการแก้ปัญหา
4. ขั้นการตรวจสอบและปรับปรุง

ตอนที่ 2 ปัญหาลูกเสือเข้าแถว
สมมติว่ามีกองลูกเสือจำนวน 24 คน ผู้กำกับลูกเสือต้องการจัดแถวเป็น 6 แถว
แถวละ 5 คน ลูกเสือคิดไม่ออก ขอให้นักเรียนคิดและเขียนภาพการจัดแถวลูกเสือกองนี้
แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

- สร้างแผนภาพการจัดแถวลูกเสือ 6 แถว แถวละ 5 คน จากลูกเสือ 24 คน
- คำถามข้อที่ 1 ปัจจัยและเงื่อนไขที่กำหนดให้ คือ....................
- คำถามข้อที่ 2 สิ่งที่โจทย์ปัญหาต้องการ คือ..........................
- คำถามข้อที่ 3 ขั้นตอนการแก้ปัญหา คือ................................
- คำถามข้อที่ 4 ผลที่ได้จากการคิดหรือการแก้ปัญหา คือ.........

2. ปริศนาลากเส้น
มีจุด 9 จุด ตามที่กำหนด จงลากเส้นสี่เส้น ให้ผ่านจุดทั้ง 9 จุดนี้ โดยไม่ยกปากกา
แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1 ปัจจัยและเงื่อนไขที่กำหนดให้ คือ..........................................
2. สิ่งที่โจทย์ปัญหาต้องการ คือ.................................................
3. ขั้นตอนการแก้ปัญหา คือ........................................................
4. ผลที่ได้จากการคิดหรือการแก้ปัญหา คือ ........................................

การจำลองความคิดเป็นผังงานแบบลำดับของขั้นตอนการใช้โทรศัพท์


การจำลองความคิดเป็นผังงานแบบเลือกของขั้นตอนการประเมินผลสอบ


การจำลองความคิดเป็นผังงานแบบวนซ้ำของลำดับขั้นตอนการตักน้ำจากตุ่มครั้งละ 1 ขันใส่ถังน้ำจนเต็ม





































วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สามารถช่วยจัดการให้ผู้ใช้เรียกใช้หรือติดต่อกับเครื่องได้ทันที โดยรูปแบบของการติดต่อกับเครื่องจะขึ้นกับระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้ง ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นสามกลุ่มด้วยกัน คือ
1 กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าทีละบรรทัด
ระบบติดต่อแบบนี้เป็นระบบติดต่อแบบแรกที่พัฒนามาพร้อมๆ กับคอมพิวเตอร์ เป็นการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งไม่เอื้อต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เท่าใดนัก เพราะผู้ใช้ต้องจำคำสั่งต่างๆ ให้ได้เสียก่อน เช่น การเรียกใช้คำสั่งของดอส แต่หากใช้จนเกิดความชำนาญ ข้อดีคือสามารถเรียกโปรแกรมมาทำงานได้รวดเร็วที่สุด ใช้พื้นที่หน่วยความจำน้อย เพราะลดการแสดงผลในส่วนของกราฟิก






2 กลุ่มเลือกรายการเมนู
ในระบบนี้จะแสดงรายการย่อยของคำสั่งต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นข้อความตัวอักษร ไม่เป็นรูปกราฟิก ผู้ใช้เพียงแต่เลื่อนตัวชี้ แถบสี หรือสัญลักษณ์ลูกศรขึ้นหรือลงไปยังรายการที่ต้องการ แล้วกดปุ่มเลือกรายการนั้น ระบบติดต่อคอมพิวเตอร์แบบนี้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องจำคำสั่งมาก เพราะจะมีรายการคำสั่งแสดงไว้ให้เลือก





3 กลุ่มเลือกสัญรูป
มีลักษณะคล้ายระบบกลุ่มเลือกรายการเมนู เพียงแต่ว่ารายการของกลุ่มนี้จะเป็นรูปภาพหรือสัญรูปสำหรับเลือก โดยมีเมาส์เป็นตัวเลื่อนตัวชี้และเลือกรายการ ในบางกรณีก็อาจเป็นรายการเมนูย่อยของข้อมูลในระบบ ระบบติดต่อคอมพิวเตอร์ระบบนี้ใช้งานง่าย ไม่ต้องเรียนรู้หรือจดจำคำสั่งที่ซับซ้อน ระบบนี้มีผู้นิยมหรือกล่าวถึงกันมากคือ ระบบติดต่อผู้ใช้เชิงกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface หรือ GUI ซอฟต์แวร์ประเภท GUI เป็นซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่จึงใช้พื้นที่หน่วยความจำมาก ต้องใช้ตัวประมวลผลที่มีขีดความสามารถสูงจึงจะทำงานได้ผล







ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุค

3.1 ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ซึ่ง คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำภาษาเครื่องได้ยาก ดังนั้นจึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร
3.2 ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ แต่อย่างไรก็ตาม ภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก โดยใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์ (Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
3.3 ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์
แปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องมีอยู่ 2 ชนิด คือ
คอมไพเลอร์ (Compiler) และ อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
· คอมไพเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
· อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงแปลคำสั่งลำดับต่อไป
ดังนั้นข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง สำหรับตัวอย่างภาษาระดับสูง ได้แก่ ภาษาโคบอล(COBOL) ฟอร์แทรน (FORTRAN) เบสิก (Basic) ปาสคาล (Pascal) และภาษาซี(C) เป็นต้น
3.4 ภาษายุคที่ 4 (Fourth-Generation Languages: 4GL)
เนื่องจากภาษาระดับสูงนั้นเป็นภาษาที่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน(Procedural) จึงทำให้ในบางครั้งจำเป็นต้องเขียนโค้ดโปรแกรมที่ยาวยืดเยื้อกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ดังนั้นจึงเกิดภาษายุคที่ 4 ขึ้น ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน (Non-Procedural) เพียงแต่สั่งว่าต้องการข้อมูลอะไร ก็สามารถแสดงผลลัพธ์ได้ตามต้องการ ตัวอย่างภาษายุคที่ 4 เช่น ชุดคำสั่งภาษา SQL (Structured Query Language)
3.5 ภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 ที่เรียกว่า การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming: OOP) ซึ่งจะมองทุกสิ่งเป็นวัตถุ (Object) โดยวัตถุจะประกอบด้วยข้อมูล (Data) และวิธีการ (Method) และจะมีคลาส (Class) เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของวัตถุ รวมทั้งความสามารถในการถ่ายทอดคุณสมบัติ (Inheritance) การ Encapsulation และการนำกลับมาใช้ใหม่
ภาษาเชิงวัตถุสามารถนำมาพัฒนาระบบงานที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างภาษานี้เช่น Visual Basic, C++ และ JAVA เป็นต้น

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Languages)

เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์

ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์

การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม

ภาษาระดับสูง

ภาษาระดับสูง : เป็นภาษาระดับสูงโปรแกรมจะเขียนในลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ ทำให้เขียนได้ง่ายขึ้น และสำหรับตัวแปลภาษาโปรแกรมเหล่านี้คือ คอมไพเลอร์ (Compiler) โดยคอมไพเลอร์จะทำหน้าที่แปล Souce Program ให้เป็นOject Program โดยแปลครั้งเดียว ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
ภาษาระดับสูงนี้ถือว่าเป็น ภาษายุคที่สาม (third-generation language) ซึ่งทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970 และมีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น โดยสังเกตได้จากเครื่องเมนเฟรมจากจำนวนร้อยเครื่องเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นเครื่อง อย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงก็ยังคงต้องการตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานต่อไป ตัวแปลภาษาที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปจะเป็นแบบคอมไพเลอร์ ซึ่งแต่ละภาษาก็มีคอมไพเลอร์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งคอมไพเลอร์แต่ละตัวก็จะต่างกันไปบนเครื่องแต่ละชนิดด้วย เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องเลือกใช้คอมไพเลอร์ภาษา COBOL ที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งภาษาใดบนเครื่องที่ต่างกันอาจจะแตกต่างกันได้ เพราะคอมไพเลอร์ที่ใช้ต่างกันนั่นเอง
ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูกออกแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน
ตัวอย่างภาษาโปรแกรมระดับสูง
ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)
ภาษา Basic (BASIC)
ภาษา Pascal (PASCAL)
ภาษา C (C)
ภาษา C++ (C++)
Cobol (COBAL)
ภาษา PL/1 (PL/1)
ภาษา RPG (RPG)
ภาษา Algol (ALGOL)
ADA
JAVA
PHP
ภาษาโปรล็อก (Prolog)
ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี (Objective-C)

ภาษา Fortran(Formula Translator)
ภาษาระดับสูงภาษาแรก เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์เทนจะประกอบด้วยข้อความ คำสั่ง ทีละบรรทัด เป็นประเภทที่เหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มพัฒนาขึ้นใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1954 โดยบริษัท
IBM ได้ว่าจ้างให้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณทางวิทยาศาสตร์
ภาษานี้ได้มีการดัดแปลงแก้ไขมาตลอดจาก FORTRAN I จนมาเป็น FORTRAN 77 ภาษานี้เหมาะกับงานคำนวณมาก จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มวิศวกร นักสถิติและนักวิจัยในการคำนวณจะมีฟังก์ชันต่างๆ ไว้ให้เรียกใช้ได้เต็มที่ เช่น การหารากที่สอง การหาค่าสัมบูรณ์ เป็นต้น แต่ไม่สามารถสั่งพิมพ์ผลหรือรายงานได้ดีเหมือนภาษาโคบอล

ภาษา Basic(Beginning's All Purpose Symbolic Instruction Code)
ภาษาโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นภาษาโปรแกรมที่เรียนรู้ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับใช้ในวงการศึกษา และเป็นภาษาที่นิยมมากที่สุดภาษาหนึ่ง ส่วนมากใช้กับมินิและไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะสื่อสารโต้ตอบได้ทันที (
Interactive language) การเขียนค่อนข้างง่าย การแก้ไขโปรแกรมก็สะดวก ภาษานี้จะต้องใช้ตัวแปลประเภท "ตัวแปลคำสั่ง" (Interpreter) แปลให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลนั้นจะแปลทีละคำสั่ง แล้วปฏิบัติการตามคำสั่งเลย ถ้ามีการสั่งให้ทำซ้ำ ก็จะต้องแปลใหม่ทุกครั้ง ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่เก่าแก่และได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนและใช้นักวิชาการคอมพิวเตอร์เองไม่ชอบภาษานี้ และกล่าวหาว่าเป็นภาษาที่มีโครงสร้างภาษาไม่ค่อยดีจึงไม่ส่งเสริมให้นำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์เห็นไม่ตรงกัน คือคิดว่าเป็นภาษาที่ง่าย ดังนั้นจึงบรรจุตัวแปลภาษานี้เอาไว้ในหน่วยความจำรอม เพื่อให้ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ใช้ภาษานี้ได้

ภาษา Pascal
เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เขียนง่าย ใช้ถ้อยคำน้อย เหมาะกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกันชื่อ ปาสคาล มาจาก
เบลส ปาสคาล นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้คิดไม้บรรทัดสไลด์รูล แต่ภาษานี้เกิดขึ้นหลังจากที่ปาสคาล ตายไปหลายปีแล้ว ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่นักวิชาการคอมพิวเตอร์ท่านหนึ่งได้คิดค้นตามหลักการภาษาคอมพิวเตอร์ที่ดี ต่อมาบรรดาอาจารย์ทั่วโลกได้เห็นพ้องกันว่าจะนำมาใช้เป็นภาษาสำหรับสอนนักเรียนนักศึกษาเป็นภาษาแรก เมื่อรู้ดีแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปเรียนวิธีใช้ภาษาอื่นๆ ปัจจุบันนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการเองก็แนะนำให้ใช้เป็นภาษาสำหรับสอนในระดับมัธยมศึกษา

ภาษา C
เป็นภาษาสมัยใหม่ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูง เป็นภาษาที่นิยมใช้กันมากในการเขียนโปรแกรมสำเร็จรูป ทำกราฟิกส์ก็ได้ รหัสที่ใช้คล้ายกับภาษาเครื่อง ภาษาซี เป็นภาษาที่มีชื่อค่อนข้างแปลก แต่มีความหมายว่าเป็นภาษาที่เกิดหลังภาษา A และ B ซึ่งมีผู้รู้จักกันน้อยกว่า ภาษาซีนี้มีลักษณะที่แปลกคือ สามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ในระดับอุปกรณ์ได้ ดังนั้นนอกจากจะใช้สั่งให้ทำงานประยุกต์ได้แล้วยังใช้สั่งควบคุมการทำงานระดับเครื่องได้ด้วย ขณะนี้ภาษาซีได้รับความนิยมมาก ถ้าผู้ใดรู้ภาษาซีจะได้เปรียบมากในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++
(++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก

ภาษาซีพลัสพลัส (C++)
เป็น
ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการ เขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 Bjarne Stroustrup จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส ได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2003 ในปัจจุบันมาตรฐานของภาษาในเวอร์ชันใหม่ (รู้จักกันในชื่อ C++0x) กำลังอยู่ในขั้นพัฒนารูปแบบของการออกแบบภาษาซีพลัสพลัส ภาษาซีพลัสพลัสได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไป สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมในระดับภาษาเครื่องได้ เช่นเดียวกับภาษาซี ในทางทฤษฎี ภาษาซีพลัสพลัสควรจะมีความเร็วเทียบเท่าภาษาซี แต่ในการเขียนโปรแกรมจริงนั้น ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาที่มีการเปิดกว้างให้โปรแกรมเมอร์เลือกรูปแบบการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่โปรแกรมเมอร์อาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้โปรแกรมที่เขียนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และภาษาซีพลัสพลัสนั้นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนมากกว่าภาษาซี จึงทำให้มีโอกาสเกิดบั๊กขณะคอมไพล์มากกว่า ภาษาซีพลัสพลัสได้รับการออกแบบเพื่อเข้ากันได้กับภาษาซีในเกือบทุกกรณี (ดูเพิ่มเติมที่ Compatibility of C and C++) มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีการเจาะจงแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
ภาษาซีพลัสพลัสถูกออกแบบมาให้รองรับรูปแบบการเขัยนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm)

ภาษา Cobol(Common Business Oriented Language)
ภาษาโปรแกรมสำหรับธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้คิดเฉพาะเจาะจงให้ใช้กับงานประเภทธุรกิจ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในงานธุรกิจใหญ่ๆ เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ ค.ศ. 1961 ในกระทรวงกลาโหมอเมริกัน ส่วนของโปรแกรมจะแบ่งเป็น IDENTIFICATION DIVISION, ENVIRONMENT DIVISION, DATA DIVISION และ PROCEDURE DIVISIONภาษาโคบอลนั้นเน้นใน เรื่องความมีระเบียบในการเขียน อ่านง่าย เข้าใจง่าย การประมวลผลไม่ยุ่งยากเท่าภาษาฟอร์แทรน แต่ต้องการผลลัพธ์ที่จัดรูปสวยงาม ลักษณะของภาษาคล้ายภาษาอังกฤษง่ายๆ เช่น ADD TAX TO PRICE เป็นต้น
คอมพิวเตอร์เมนเฟรมเกือบทุกเครื่องจะต้องมีตัวแปลภาษานี้อยู่ด้วยภาษาโคบอลเป็นภาษาเก่าแก่ภาษาหนึ่ง ชื่อของภาษาก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นภาษาสำหรับใช้งานธุรกิจ ภาษานี้มีลักษณะเป็นประโยคเหมือนภาษาอังกฤษ จึงใช้ง่ายสำหรับผู้ที่ทำงานด้านธุรกิจ ขณะเดียวกันการเขียนโปรแกรมก็เป็นเสมือนคำอธิบายในตัวว่า โปรแกรมนี้ทำงานอะไร
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่เป็นนักคอมพิวเตอร์แล้วจะรู้สึกว่าภาษานี้ยืดยาดไม่น่าใช้ การที่โลกนี้ยังใช้ภาษานี้อยู่ก็เพราะหน่วยงานต่างๆ ยังใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษานี้กันอยู่อีกมาก การจะเลิกไปใช้ภาษาที่ใหม่กว่าจึงทำได้ยากและที่สำคัญคือ เป็นภาษาโปรแกรมที่อิสระจากเครื่อง หมายความว่า โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานบนคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ก็สามารถรันได้บนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง

ภาษา PL/1 (Programming Language/one)
จัดได้ว่าใช้กับงานประเภทใดก็ได้ ผิดกับฟอร์แทรนและโคบอล ซึ่งเหมาะกับงานคนละอย่าง เริ่มใช้มาตั้งแต่ ค.ศ.1976 เป็นภาษาที่ค่อนข้างยากและซับซ้อน มีการใช้เครื่องหมาย ;
(Semicolon) ตอนจบคำสั่งทุกคำสั่งหลายๆคำสั่งจะถูกนำมารวมกันเรียกว่า Procedure ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมเล็กๆ หรือส่วนหนึ่งของโปรแกรมใหญ่ๆก็ได้

ภาษาอาร์พีจี (RPG ย่อมาจาก Report Program Generator)
เริ่มใช้มาตั้งแต่ราวทศวรรษ 1960 ประโยชน์จริงๆยังแคบมาก ส่วนมากใช้เฉพาะในวงการธุรกิจเล็กๆ หรืองานคอมพิวเตอร์เล็กๆ ภาษานี้มุ่งในเรื่องการทำงานโดยเฉพาะรายงาน เป็นต้นว่า บัญชีรับจ่าย การจัดเรียงและเขียนคำสั่ง ของภาษานี้แบ่งเป็นส่วนๆคล้ายภาษาโคบอล แต่ต้องเขียนในกระดาษแบบฟอร์มที่กำหนด การแก้ไขมักจะทำยาก ภาษานี้ไม่เหมาะกับงานที่มีแฟ้มข้อมูลซับซ้อน และการเขียนโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็มักจะไม่เหมือนกันต้องมีการแก้ไขดัดแปลงเล็กน้อยจึงจะใช้ได้ ข้อดีของภาษานี้ก็คือ เรียนรู้ได้ง่าย กฎเกณฑ์ก็มีเล็กน้อย ดีสำหรับการอ่านแฟ้มข้อมูลใหญ่ๆที่มีข้อมูลมากๆ แต่มีการคำนวณน้อยๆ การพิมพ์ผล หรือรายงานจะทำได้สวย ผู้ที่รู้ภาษาโคบอลมาแล้วจะเขียนภาษานี้ได้เลย
ภาษา RPG เป็นภาษาที่มีมานานแล้ว และคิดค้นโดยทีมงานของบริษัทไอบีเอ็ม สำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับกลางและระดับใหญ่ของบริษัทเอง แต่โดยที่ใช้ในอดีตบริษัทสามารถขายเครื่องระดับดังกล่าวได้มาก จึงทำให้มีผู้นิยมใช้ภาษานี้เขียนโปรแกรมค่อนข้างมากเช่นกัน

ภาษาอัลกอล (ALGOL ย่อมาจาก Algolithmic Language)
เริ่มใช้มาตั้งแต่ ค.ศ.1958 ผู้สร้างภาษานี้กำหนดไว้ให้ใช้กับงานทางวิทยาศาสตร์ และงานที่มีการคำนวณมากๆ ภาษานี้คล้ายกับภาษาฟอร์แทรนแต่เป็นที่นิยมมากในยุโรป ในขณะที่ภาษาฟอร์แทรนเป็นที่นิยมในสหรัฐ

ภาษา เอด้า (ADA)
เป็นภาษาหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับอัลกอลและปาสคาล ผู้คิดภาษานี้ที่ตั้งชื่อว่าเอด้า เพื่อเป็นเกียรติแก่
เลดี้ เอด้า ออกุสต้า ซึ่งทำงานร่วมกับ ชาร์ลส แบบเบจ เธอเองเป็นต้นคิดในการทำโปรแกรม จนได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก กระทรวงกลาโหมอเมริกันเป็นผู้ให้การสนับสนุนให้สร้างภาษานี้ขึ้น เพื่อไว้ใช้ในกิจการทหาร ในราว ค.ศ.1980 คนที่ไม่ชอบก็มีมาก ส่วนคนที่ชอบก็ชื่นชมว่าเป็นก้าวใหม่ทางด้านเทคโนโลยีของการสร้างซอฟต์แวร์ ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมนัก แต่ก็กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา

ภาษาจาวา (Java programming language)
เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส
(C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา"' ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

พีเอชพี (PHP)(PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิม Personal Home Page)
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะ
เซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่ง
มาจากภาษา
ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
การแสดงผลของพีเอชพี จะปรากฏในลักษณะ
HTML ซึ่งจะไม่แสดงคำสั่งที่ผู้ใช้เขียน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พีเอชพีแตกต่างจากภาษาในลักษณะไคลเอนต์-ไซด์สคริปต์ เช่น ภาษาจาวาสคริปต์ ที่ผู้ชมเว็บไซต์ สามารถอ่าน ดูและคัดลอกคำสั่งไปใช้เองได้ นอกจากนี้พีเอชพียังเป็นภาษาที่เรียนรู้และเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือช่วยเหลือและคู่มือที่สามารถหาอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความสามารถการประมวลผลหลัก
ของพีเอชพี ได้แก่ การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติจัดการคำสั่ง การอ่านข้อมูลจากผู้ใช้และประมวลผล การอ่านข้อมูลจากดาต้าเบส ความสามารถจัดการกับคุกกี้ ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมในลักษณะ CGI คุณลักษณะอื่นเช่น การประมวลผลตามบรรทัดคำสั่ง (command line scripting) ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสร้างสคริปต์พีเอชพี ทำงานผ่านพีเอชพี พาร์เซอร์ (PHP parser) โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์
หรือเบราว์เซอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Cron (ใน
ยูนิกซ์หรือลีนุกซ์) หรือ Task Scheduler (ในวินโดวส์) สคริปต์เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในแบบ Simple text processing tasks ได้ การแสดงผลของพีเอชพี ถึงแม้ว่าจุดประสงค์หลักใช้ในการแสดงผล HTML แต่ยังสามารถสร้าง XHTML หรือ XML ได้ นอกจากนี้สามารถทำงานร่วมกับคำสั่งเสริมต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลหลัก PDF แฟลช (โดยใช้ libswf และ Ming) พีเอชพีมีความสามารถอย่างมากในการทำงานเป็นประมวลผลข้อความ จาก POSIX Extended หรือ รูปแบบ Perl ทั่วไป เพื่อแปลงเป็นเอกสาร XML ในการแปลงและเข้าสู่เอกสาร XML เรารองรับมาตราฐาน SAX และ DOM สามารถใช้รูปแบบ XSLT ของเราเพื่อแปลงเอกสาร XML เมื่อใช้พีเอชพีในการทำอีคอมเมิร์ซ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น เช่น Cybercash payment, CyberMUT, VeriSign Payflow Pro และ CCVS functions เพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรม
ทำธุรกรรมทางการเงิน

ภาษาโปรล็อก (Prolog)
เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิง
ตรรกะ ได้ชื่อมาจาก PROgrammation en LOGique (logic programming) สร้างขึ้นโดย Alain Colmerauer ราว ค.ศ. 1972 ภาษาโปรล็อกเกิดจากความพยายามที่จะสร้างภาษาที่อาศัยวิธีการทางตรรกศาสตร์แทนที่จะกำหนดคำสั่งอย่างละเอียดให้กับคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรล็อกถูกนำไปใช้ในโปรแกรมสำหรับปัญญาประดิษฐ์ และภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) โดยเฉพาะการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ไวยากรณ์ และความหมายของภาษานั้นเรียบง่ายและชัดเจน (เป้าหมายแรกของภาษาคือเป็นเครื่องมือสำหรับนักภาษาศาสตร์ที่ไม่รู้คอมพิวเตอร์) งานวิจัยจำนวนมากที่ทำให้เกิดการพัฒนาภาษาโปรล็อกในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากโครงการระบบคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า (fifth generation computer systems project - FGCS) ซึ่งเลือกรูปแบบหนึ่งของภาษาโปรล็อกเป็นภาษาแก่น (Kernel Language) ของ
ระบบปฏิบัติการ
ภาษาโปรล็อกมีพื้นฐานมาจาก
แคลคูลัสภาคแสดง (predicate calculus) หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า แคลคูลัสภาคแสดงอันดับที่หนึ่ง (first-order predicate calculus) โดยจำกัดให้ใช้เฉพาะอนุประโยคของฮอร์น (Horn clause) การดำเนินการของโปรแกรมโปรล็อก ก็คือการประยุกต์วิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทโดยใช้รีโซลูชันอันดับหนึ่ง (first-order resolution) แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การทำให้เท่ากัน (unification), การเรียกซ้ำจากส่วนท้าย (tail recursion), การย้อนรอย (backtracking)

ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี (Template:Lang-en)
เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุและมีสมบัติการสะท้อน โดยแรกเริ่ม ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี พัฒนาขึ้นจากภาษาซีโดยยังคงคุณลักษณะของภาษาซีไว้ครบทุกประการเพียงแต่เพิ่มระบบส่งข้อความ (messaging) แบบเดียวกับภาษาสมอลล์ทอล์กเข้าไปเท่านั้น (Objective-C runtime) ปัจจุบันภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีมีคุณสมบัติอื่นๆเพิ่มเติมจากการพัฒนาภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี 2.0 โดยบริษัทแอปเปิล ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีถูกใช้มากใน Cocoa (API) ใน Mac OS X, GNUstep (API) และ Cocotron (API) เป็นต้น ซึ่งระบบเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากมาตรฐาน OpenStep (API) ใน Nextstep (Operating system) โดยมีภาษาภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเป็นภาษาหลัก ปัจจุบัน Mac OS Xใช้ Cocoa เป็นเฟรมเวิร์กสำหรับสร้างโปรแกรมประยุกต์ โดย ไลบรารีและ/หรือ API เหล่านี้เป็นเพียงส่วนเพิ่มขยาย (Software extension) เท่านั้น โปรแกรมที่ใช้ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ส่วนเพิ่มขยายเหล่านี้ก็ยังสามารถคอมไพล์ได้ เช่นอาจใช้แต่ gcc ซึ่งรองรับภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี

ภาษารูบี (Ruby)
เป็น
ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่ได้รับอิทธิพลของโครงสร้างภาษามาจาก ภาษาเพิร์ลกับภาษาเอดา มีความสามารถในเชิงวัตถุแบบเดียวกับภาษาสมอลทอล์ค และมีความสามารถหลายอย่างจากภาษาไพทอน, ภาษาลิสป์, ภาษา Dylan และภาษา CLU ตัวแปลภาษารูบีตัวหลักเป็นซอฟต์แวร์เสรี และเป็นตัวแปลแบบอินเตอร์พรีเตอร์
ประวัติ
ภาษารูบีสร้างโดย
Yukihiro Matsumoto หรือ "Matz" ซึ่งเริ่มพัฒนาเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 และออกรุ่นแรกสู่สาธารณะใน ค.ศ.​1995 ชื่อ "รูบี" ที่แปลว่า ทับทิม นั้นเป็นหินประจำเดือนเกิดของเพื่อนร่วมงานของ Matsumoto โดยรูบีไม่ได้ตั้งใจตั้งชื่อล้อกับ Perl (แปลว่า ไข่มุก) ซึ่งเป็นหินประจำเดือนมิถุนายน ในขณะที่ทับทิมเป็นหินของเดือนกรกฎาคม