วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์เครือข่าย

1. การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card)
การ์ดเครือข่าย หรือการ์ดแลน หรืออีเธอร์เน็ตการ์ด ทำหน้าที่ในการเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นั้นเข้ากับระบบเครือข่ายได้ เช่น ในระบบแลน เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีการ์ดเครือข่ายที่เชื่อมโยงด้วยสายเคเบิลจึงสามารถทำให้เครื่องติดต่อกับเครือข่ายได้ ส่วนในกรณีเป็นระบบแลนไร้สาย ก็จะต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สาย (Wireless PCI/PCMCIA Card) ร่วมกับอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอกเซสพอยต์ (Wireless Access Point)
2. ฮับ (Hub)
ฮับ คืออุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกันฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ติดต่อยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส(address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต
3. สวิตช์ (Switch)
สวิตซ์ คืออุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเก็ตมาตรวจสอบก่อนแล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีหลายทางไปที่ใด สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
4. เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ทำให้ระบบเครือข่ายที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านของสถาปัตยกรรม หรือมาตรฐานอื่นๆ ให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น สถาปัตยกรรมของเครื่องระดับเมนเฟรมย่อมมีความแตกต่างกับสถาปัตยกรรมเครื่องพีซี แต่ถ้ามีอุปกรณ์เกตเวย์แล้วจะทำให้เครื่องทั้งสองสามารถมีประตูที่ทำให้ทั้งสองระบบเชื่อมโยงกันได้
5. บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับเครือข่ายหลายๆ กลุ่มที่เชื่อมต่อกันเนื่องจากสามารถแบ่งเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันหลายๆ เซกเมนต์แยกออกจากกันได้ ทำให้ข้อมูลในแต่ละเซกเมนต์ไม่ต้องวิ่งไปทั่วทั้งเครือข่าย กล่าวคือบริดจ์สามารถอ่านเฟรมข้อมูลที่ส่งมาได้ว่ามาจากเครื่องในเซกเมนต์ใด จากนั้นจะทำการส่งข้อมูลไปยังเครื่องซึ่งอาจอยู่ในเซกเมนต์เดียวกันหรือต่างเซกเมนต์ก็ได้ ซึ่งความสามารถดังกล่าวทำให้ช่วยลดปัญหาความคับคั่งของข้อมูลในระบบได้
6. รีพีตเตอร์ (Repeater)
รีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ระยะไกลขึ้น คือ รีพีตเตอร์จะปรับปรุงสัญญาณที่อ่อนตัวให้กลับมาเป็นรูปแบบเดิม เพื่อให้สัญญาณสามารถส่งต่อไปได้อีก เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนหลายๆ เซกเมนต์ ซึ่งความยาวของแต่ละเซกเมนต์นั้นจะมีระยะทางที่จำกัด ดังนั้นอุปกรณ์อย่างรีพีตเตอร์ก็จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
7. โมเด็ม (Modem)
โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่งและภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน(Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด โมเด็มภายนอก(External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็น PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
8. เร้าเตอร์ (Router)
ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ เครือข่ายหรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสม เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้องเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและ
สามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ในเส้นทางนั้น

รูปร่างเครือข่าย (Network Topology)

รูปร่างเครือข่ายมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะมีลักษณะการเชื่อมต่อแตกต่างกัน โดยบางรูปแบบมีการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด(point-to-point) และบางรูปแบบมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุด(multipoint)
- การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด(point-to-point) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารสองเครื่อง โดยใช้สื่อกลางหรือช่องทางในการสื่อสารช่องทางเดียวเป็นการจองสายในการส่งข้อมูลระหว่างกันโดยไม่มีการใช้งานสื่อกลางนั้นร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ การเชื่อมต่อลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ทำให้สิ้นเปลืองช่องทางการสื่อสาร
- การเชื่อมต่อแบบหลายจุด(multipoint) เป็นการใช้งานช่องทางการสื่อสารเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะใช้ช่องทางการสื่อสารหนึ่งช่องทางเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารหลายชิ้น โดยมีจุดเชื่อมแยกออกมาจากสายหลัก ดังต่อไปนี้
1) โทโปโลยีแบบ BUS ในระบบเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากในอดีต คือการนำอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายเชื่อมต่อกับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า "บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปแบบของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์(Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับเข้ามายังบัส อีกทั้งเป็นการป้องกันการชนของสัญญาณข้อมูลอื่นที่เดินทางอยู่ใน BUS สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อ เข้าสู่บัสจะไหลผ่านยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัสจะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลผ่านไป จะเห็นได้ว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือแบบ
􀂃 ควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการ สื่อสารภายในเครือข่ายซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์
􀂃 ควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายจะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสารแทนที่จะเป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการสื่อสารส่ง-รับข้อมูลกันอยู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้น
2) โทโปโลยีแบบ RING เหตุที่เรียกการสื่อสารแบบนี้ว่าเป็นแบบ RING เพราะข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่ายจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์แบบ BUS ในแต่ละโหนดจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมา จากสายสื่อสารเพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไป ให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
3) โทโปโลยีแบบ STAR จากการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว(STAR) หลายแฉกโดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมดทั้งภายใน และภายนอกเครือข่าย นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย โดยเชื่อมต่อเข้ากับไฟล์เซิร์ฟเวอร์อีกที
การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล (แต่ในอุปกรณ์รุ่นใหม่สามารถทำการสลับการทำงานและยอมให้ทำงานได้พร้อมกันคือ Switch HUB) โทโปโลยีแบบ STAR เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันเพราะติดตั้งง่ายและดูแลรักษาง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็ตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้

ชั้นมาตรฐาน 7 ชั้น

1. ชั้นกายภาพ (physical layer) เป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งกระแสบิต(Bit Stream) บนตัวกลางสื่อสารซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางกล(Mechanical) และทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronics) ในการอินเตอร์เฟซและตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล รวมถึงการกำหนดหน้าที่และขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ที่จะต้องอินเตอร์เฟซเพื่อการปฏิบัติงานเมื่อเกิดการส่งข้อมูล
2. ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (data link layer) เป็นชั้นที่ทำหน้าที่การส่งข้อมูลในลักษณะ Node-to-Node ซึ่งจะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการเข้าถึงและการใช้งานบนชั้นกายภาพ ด้วยการจะจัดการกับข้อมูลอย่างไรให้อยู่ในรูปแบบของเฟรม เพื่อจะจัดส่งเฟรมนี้อย่างไรบนเครือข่าย โดยต้องมีความวางใจได้ถึงการนำพาข้อมูลจากลำดับชั้นกายภาพที่ปราศจากข้อผิดพลาดใดๆ เพื่อบริการให้กับลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป
3. ชั้นเครือข่าย (network layer)ทำหน้าที่ควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางโดยผ่านจุดต่างๆ บนเครือข่ายให้เป็นไปตามเส้นทางที่กำหนดรวบรวมและแยกแยะข้อมูลเพื่อหาเส้นทางในการส่งข้อมูลที่เหมาะสม
4. ชั้นขนส่ง (transport layer)เป็นชั้นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งข้อมูลในลักษณะ End-to-End ด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือถึงการรับประกันการบริการรับส่งข้อมูล ว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นถึงผู้รับแน่นอน หากเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการส่ง ก็จะมีการส่งใหม่
5. ชั้นส่วนงาน (session layer) ทำหน้าที่สร้างการติดต่อระหว่างเครื่องต้นทางและปลายทาง ตลอดจนดูแลการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องทั้งสองให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพโดยกำหนดขอบเขตการรับ-ส่ง คือกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่งโดยจะเพิ่มเติมรูปแบบการรับ-ส่ง ข้อมูลว่าเป็นแบบข้อมูลชุดเดียว หรือหลายชุดพร้อมๆ กัน เช่น โมดูล(module) ของการนำเสนอผ่านเว็บ หากการสื่อสารภายในชั้นนี้เกิดล้มเหลว ทำให้ข้อมูลเสียหาย ก็อาจจำเป็นต้องเริ่มต้นการทำงานของชั้นนี้ใหม่
6. ชั้นการนำเสนอข้อมูล (presentation layer) จะแปลงข้อมูลที่ส่งมาให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมของเครื่องผู้รับเข้าใจ รวมทั้งการจัดรูปแบบและนำเสนอข้อมูลโดยกำหนดรูปแบบภาษา ชนิด และวิธีการเข้าถึงข้อมูลของเครื่องผู้ส่งให้เครื่องผู้รับเข้าใจ เช่น การนำเสนอผ่านเว็บ การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล
7. ชั้นการประยุกต์ (application layer) เป็นลำดับชั้นซึ่งอนุญาตให้ยูสเซอร์ที่ใช้งานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันต่างๆ สามารถเข้าถึงเครือข่ายโดยจะเตรียมการเพื่อการอินเตอร์เฟซระหว่างยูสเซอร์กับคอมพิวเตอร์ และสนับสนุนการบริการต่างๆ เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ การรีโมตระยะไกลเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือถ่ายโอนข้อมูล การแชร์ฐานข้อมูลและบริการอื่นๆ

โพรโทคอล (Protocol)

โพรโทคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทคอลมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ
ในปี คศ.1977 องค์กร ISO (international Organization for Standard) ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการศึกษาจัดรูปแบบมาตรฐาน และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่ายและใน ปี ค.ศ. 1983 องค์กร ISO ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐานในชื่อของ "รูปแบบ OSI " (Open System Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเชื่อมต่อระบบ คอมพิวเตอร์ อักษร "O" หรือ "Open" ก็ หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตรฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหา สู่ระหว่างกันได้ จุดมุ่งหมายของการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วยการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยฝ่ายผู้ส่งและผู้รับ และจะเริ่มด้วยฝ่ายผู้ส่งต้องการส่งข้อมูลโดยผ่านชั้นมาตรฐาน 7 ชั้น

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สามารถจำแนกตามระยะทางของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
ในความเป็นจริงประเภทเครือข่ายทั้งสามจะนำมาใช้งานบนวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยจุดสำคัญอยู่ที่ลักษณะการใช้งานและระยะทางในการเชื่อมต่อ เช่น หากต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อใช้งานภายในอาคาร หรือสำนักงาน เครือข่ายท้องถิ่นก็ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
1. Local area network (LAN) หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร มีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสูง ประมาณ 10-1000 Mbps สื่อที่ใช้มักจะเป็นสื่อแบบสายสัญญาณ ส่วนใหญ่จะใช้ในองค์กร สำนักงาน เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยหรือเครือข่าย ภายในบริษัท นอกจากนี้เครือข่ายแบบท้องถิ่นยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.1 Peer to Peer เป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยกันไม่เกิน 10 เครื่อง ซึ่งอาจเรียกว่าเวิร์กกรุ๊ป(Workgroup) โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายดังกล่าวจะไม่มีเครื่องใดเฉพาะที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการข้อมูล(Server) ซึ่งทุกๆ เครื่องในเครือข่ายจะมีความเสมอภาคกันหมด โดยแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเป็นได้ทั้งเครื่องลูกข่ายและเครื่องบริการ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเครื่องนั้นถูกร้องขอใช้ทรัพยากรหรือต้องการใช้ทรัพยากรจากเครื่องอื่น
เป้าหมายของเครือข่ายประเภทนี้คือต้องการให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เป็นสำคัญและใช้ต้นทุนต่ำ
1.2 Client/Server เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือหลายเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องศูนย์บริการข้อมูล(Server) ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่าโฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer) โดยเครื่องเซริฟ์เวอร์นี้จะทำหน้าที่ในการควบคุมการเข้าถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์บนเครือข่าย และเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในเครือข่ายส่วนเครื่องไคลเอนต์นั้นก็คือเครื่องลูกข่ายที่จะต้องล็อกอินเข้าสู่เครือข่ายก่อน จึงสามารถใช้บริการทรัพยากรต่างๆ บนเครือข่ายได้
โดยยูสเซอร์แต่ละคนที่ล็อกอินเข้าสู่ระบบนั้นจะมีสิทธิการใช้งานที่แตกต่างกันตามที่ผู้จัดการเครือข่าย(Admin) เป็นผู้กำหนดสิทธิการใช้งานให้ เครือข่ายประเภทนี้จะมีระบบการป้องกันความปลอดภัยที่ดีกว่าแบบ Peer to पीर
2. Metropolitan area network (MAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ซึ่งอาจครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลหรือทั้งอำเภอ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดนี้เกิดจาก การเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่นหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
3. Wide area network (WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากภายในเครือข่ายประกอบไปด้วย เครือข่ายแบบ LAN และ MAN พื้นที่ของเครือข่ายแบบ WAN สามารถครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลก เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการครอบคลุมทั่วโลกก็เป็นเครือข่ายแบบ WAN เครือข่ายหนึ่งเช่นกัน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อเชื่อมโยงให้มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้เพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันและการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้น จากเดิม การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสื่อสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่าย
เพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง

ดาวเทียม (Satellite)

การสื่อสารด้วยดาวเทียม (Satellite Transmission) หรือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียมที่อยู่บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูล ไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียมกับตำแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปให้ลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 23,300 กม. เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม (Transponder) จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีภาคพื้นซึ่งมีกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่อีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัป
ลิงก์" (Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณดาวน์-ลิงก์ (Downlink) ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานีดาวเทียม 1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณ
ดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูลให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านสถานีดาวเทียมเพียง 3 ดวงเท่านั้น
ระหว่างสถานีดาวเทียม 2 ดวง ที่ใช้ความถี่ของสัญญาณเท่ากันถ้าอยู่ใกล้กันเกินไปอาจจะทำให้เกิดการรบกวนสัญญาณซึ่งกันและกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนหรือชนกันของสัญญาณดาวเทียม จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างของสถานีดาวเทียม และย่านความถี่ เช่น ระยะห่างกัน 4 องศา (วัดมุมเทียงกับจุดศูนย์กลางของโลก) ให้ใช้ย่านความถี่ของสัญญาณ 4/6 จิกะเฮิรตซ์ หรือย่าน C แบนด์โดยมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณอัป-ลิงก์เท่ากับ 5.925-6.425 จิกะเฮิรตซ์และมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากับ 3।7-4.2 จิกะเฮิรตซ์
การส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่น ๆ ได้ อีกทั้งยังมีเวลาประวิง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณและที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน

ไมโครเวฟ (Microwave)

การส่งสัญญาณข้อมูลไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่น ในเขตเมืองใหญ่ ๆ หรือในเขตที่ป่าเขา แต่ละสถานีไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณข้อมูล ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นย่านความถี่สูง (2-10 จิกะเฮิรตซ์) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลงหรือหักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้นการติดตั้งจาน ส่ง-รับสัญญาณจึงต้องให้หันหน้าของจานตรงกัน และหอยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกล ปัจจุบันมีการใช้การส่งสัญญาณข้อมูลทางไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกล ๆ หรือระหว่างอาคาร โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะใช้สายเส้นใยนำแสง หรือการสื่อสารดาวเทียม อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูกกว่า และติดตั้งได้ง่ายกว่าและสามารถส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ ด้วย อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ทำให้สื่อกลางไมโครเวฟเป็นที่นิยม คือราคาที่ถูกกว่าดาว

บลูธูท (Bluetooth)

บลูธูทได้นำมาพัฒนาเพื่อใช้สำหรับการสื่อสารแบบไร้สายบนระยะทางสั้นๆ ตั้งแต่10 เซนติเมตร ถึง 10 เมตร มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยแสงอินฟราเรดตรงที่สามารถสื่อสารทะลุสิ่งกีดขวางหรือกำแพงได้ อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารแบบไร้สายด้วยการแผ่คลื่นออกเป็นวงรัศมีรอบทิศทางด้วยคลื่นความถี่สูง สำหรับความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 722 क्ब्प्स เมื่อมีการเชื่อมต่อโดยตรงหรือแบบจุดต่อจุด ในขณะที่การเชื่อมต่อแบบหลายจุด ก็จะทำให้ความเร็วลดลงเหลือประมาณ 57।6 Kbps ในปัจจุบันบลูธูทมักนำไปใช้งานกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น เครื่องพีดีเอ คอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค เครื่องพิมพ์ รวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่

อินฟราเรด (Infrared)

แสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้นที่มักนำไปใช้กับรีโมตคอนโทรลของวิทยุหรือโทรทัศน์ เป็นแสงที่มีทิศทางในระดับสายตา ซึ่งไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้แสงอินฟราเรดมักมีการนำมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์มือถืออุปกรณ์รอบข้างต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องแฟกซ์ และรวมถึงกล้องดิจิตอล อัตราความเร็วปกติในการรับส่งข้อมูลอยู่ระหว่าง 4 - 16 Mbps และปัจจุบันมีการบรรจุช่องสื่อสารอินฟราเรด (Infrared Data Association : IrDA) เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งานสื่อสารแบบไร้สายด้วยอินฟราเรด เช่น เมาส์ คียบอร์ด หรือเครื่องพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการสื่อสารไร้สายบนระยะห่างสั้นๆ นี้กำลังถูกเทคโนโลยีอย่างบลูธูท(Bluetooth) เข้ามาแทนที่

คลื่นวิทยุ (Radio Frequency : RF)

การสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุนั้น จะมีคลื่นความถี่ที่แตกต่างกันตามคลื่นของชนิดนั้นๆ เช่น VLF, VHF, UHF, SHF และ EHF เป็นต้น ซึ่งช่วงความถี่อยู่ที่ 104 ถึง 109 Hz โดยคลื่นในช่วงดังกล่าวสามารถนำไปใช้สำหรับการส่งข่าวสาร และการสื่อสารไร้สายได้ โดยมีการเริ่มต้นใช้งานกับ
คลื่นวิทยุ AM (Amplitude Modulation) และคลื่นวิทยุ FM (Frequency Modulation) การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นวิทยุ จะกระทำโดยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยการใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาณหรือเรียกว่าการมอดูเลต ด้วยการรวมกับคลื่นเสียงที่เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกัน ทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สายอีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้นๆ รวมถึงเทคนิควิธีการผสมคลื่นก็จะใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน ดังนั้นเครื่องรับวิทยุที่ใช้งานก็จำเป็นต้องปรับให้ตรงกับคลื่นที่ส่งมาด้วย

สื่อกลางประเภทไร้สาย

สำหรับการสื่อสารแบบไร้สาย การรับส่งข้อมูลโดยทั่วไปจะผ่านอากาศ ซึ่งภายในอากาศนั้นจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่ไว้คอยจัดการกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้น ซึ่งโดยปกติจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. แบบ Directional เป็นแบบกำ หนดทิศทางของสัญญาณ ด้วยการโฟกัสคลื่นนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องทำการรับส่งด้วยความระมัดระวัง โดยจะต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน เช่น การสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ อุปกรณ์รับส่งจำเป็นต้องสื่อสารกันอยู่ในระดับสายตา
2. แบบ Omnidirectional เป็นแบบกระจายสัญญาณรอบทิศทาง ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกไปนั้นจะกระจายหรือแพร่ไปทั่วทิศทางในอากาศ ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเหล่านี้ได้ด้วยการตั้งเสาอากาศเช่น วิทยุกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์
สำหรับช่วงความถี่อื่นๆ เช่น ช่วงความถี่ของแสงอินฟราเรดและคลื่นความถี่สั้น เหมาะกับการนำไปใช้เพื่อการสื่อสารบนพื้นที่ที่จำกัดหรือการสื่อสารระยะใกล้ๆ เช่น ภายในห้อง หรือสำนักงาน โดยปกติแสงอินฟราเรดมักนำมาใช้กับเครื่องวิทยุหรือโทรทัศน์ที่สามารถควบคุมด้วยรีโมตคอนโทรล และรวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้กับเครือข่ายท้องถิ่นแบบไร้สาย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบจุดต่อจุด หรือแบบหลายจุด

เส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable)

เส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนการส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถส่งข้อมูลด้วยอักตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเนื่องจากความสามารถในการส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพ หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งมีความปลอดภัยในการส่งสูง

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) ส่วนใหญ่จะเรียกสั้น ๆ ว่าสายโคแอก(Coax) จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอก มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" ซึ่งชื่อก็บอกความหมายว่าตัวนำทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง โครงสร้างของสายโคแอกประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมากและนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน

สายโคแอกเชียลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สายโคแอกเชียลแบบบาง (Thin Coaxial cable)
- ขนาด 0.64 cm.
- ขนาดเล็ก มีความยืดหยุ่นสูง
- นำสัญญาณได้ไกลประมาณ 186 m.
- ใช้เชื่อมต่อกับ Computer โดยใช้มาตรฐาน Ethernet
2. สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Coaxial cable)
- ขนาด 1.27 cm.
- ขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่า
- ส่งข้อมูลได้ไกล 500 m.
- Network ระยะแรก ใช้เป็น Backbone แต่ปัจจุบันใช้ Fiber

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำ ผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ของสื่อประเภทนั้นๆ ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้
􀁹 แบนด์วิดท์ (Bandwidth)คือแถบความถี่ของช่องสัญญาณ ซึ่งหากมีช่องสัญญาณขนาดใหญ่ ก็จะส่งผลให้ภายในหน่วยเวลาจะสามารถเคลื่อนย้ายปริมาณข้อมูลได้จำนวนมากขึ้น

สื่อกลางประเภทมีสาย
1) สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียวสามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน ในขณะที่มีสัญญาณส่งผ่านสายสายคู่บิดเกลียว 1 คู่ จะแทน
การสื่อสารได้ 1 ช่องทางสื่อสาร (Channel) ในการใช้งานจริง เช่นสายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียว อยู่ภายในเป็นร้อย ๆ คู่ สายคู่บิดเกลียว 1 คู่ จะมีขนาดประมาณ 0।016-0.036 นิ้ว สายคู่บิดเกลียว สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว จะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่งสัญญาณจึงจำเป็นต้องมี "เครื่องขยาย"

(Amplifier) สัญญาณ สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อก ในระยะทางไกล ๆ หรือทุก 5-6 กม। ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี "เครื่องทบทวน" (Repeater) สัญญาณทุก ๆ ระยะ 2-3 กม. เพราะว่าแต่ละคู่ของสายคู่บิดเกลียว จะแทนการทำงาน 1 ช่องทาง สายประเภทนี้มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ
ก) สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถัดชั้นนอกที่หนาอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ข) สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้น ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำ จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างสายคู่บิดเกลียวชนิดนี้ เช่น สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ตามบ้าน


หัวเชื่อมต่อ (Modular Plugs) สายคู่บิดเกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11ที่เป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และหัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเกลียว 4 คู่ ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น ดังรูปที่ 12 จะแสดงสาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45



การติดต่อแบบแบบอนุกรมแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่งได้ 3 แบบคือ

1) สื่อสารทางเดียว (simplex)
การสื่อสารทางเดียว (simplex) เป็นการติดต่อทางเดียว เมื่ออุปกรณ์หนึ่งส่งข้อมูลอุปกรณ์อีกชุดจะต้องเป็นฝ่ายรับข้อมูลเสมอ ตัวอย่างการใช้งานเช่น ในระบบสนามบิน คอมพิวเตอร์แม่จะทำหน้าที่ติดตามเวลาขึ้นและลงของเครื่องบิน และส่งผลไปให้มอนิเตอร์ที่วางอยู่หลาย ๆ จุดให้ผู้โดยสารได้ทราบข่าวสาร คอมพิวเตอร์แม่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูล มอนิเตอร์ต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นผู้รับข้อมูล ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางของข้อมูลเป็นการส่งข้อมูลแบบทางเดียว หรือการส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ หรือการกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น

2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex)
การสื่อสารสองทางครึ่ง (half duplex) เป็นการติดต่อกึ่งสองทางมีการเปลี่ยนเส้นทางในการส่งข้อมูลได้ แต่คนละเวลากล่าวคือ ข้อมูลจะไหลไปในทิศทางเดียว ณ เวลาใดๆ ตัวอย่างการใช้งานเช่น การติดต่อระหว่าง เทอร์มินัลกับคอมพิวเตอร์แม่ ผู้ใช้ที่เทอร์มินัลเคาะแป้นเพื่อสอบถามข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์แม่ ต้องใช้เวลาชั่วขณะคอมพิวเตอร์แม่จึงจะส่งข่าวสารกลับมาที่เทอร์มินัลนั้น ไม่ว่าจะเป็นเทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์แม่ เมื่ออุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งเป็นผู้ส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่เหลือก็จะเป็นผู้รับข้อมูลในเวลาขณะนั้น

3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex)
การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) เป็นการติดต่อสองทาง คือเป็นผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ ตัวอย่างการใช้งานเช่น การติดต่อระหว่างเทอร์มินัลกับคอมพิวเตอร์แม่ บางชนิดที่ไม่ต้องใช้เวลารอสามารถโต้ตอบได้ทันที หรือการพูดคุยทางโทรศัพท์ เป็นต้น

วิธีการถ่ายโอนข้อมูล

การถ่ายโอนข้อมูล คือการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับสัญญาณเข้าไปในเครื่อง สามารถจำแนกได้ 2 แบบคือ
1) การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน คือการส่งข้อมูลครั้งละหลายๆ บิตพร้อมกันไปจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางหลายๆ ช่องทางโดยมากจะเป็นสายนำสัญญาณหลายๆ เส้น โดยจำนวนสายส่งจะต้องเท่ากับจำนวนบิตที่ต้องการส่งแต่ละครั้ง วิธีนี้นิยมใช้กับการส่งข้อมูลระยะทางใกล้และปกติความยาวของสายไม่ควรยาวมากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย
2) การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต ไปบนสัญญาณจนครบจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ สามารถนำไปใช้กับสื่อนำข้อมูลที่มีเพียง 1 ช่องสัญญาณได้ สื่อนำข้อมูลที่มี 1 ช่องสัญญาณนี้จะมีราคาถูกกว่าสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ และเนื่องจากการสื่อสารแบบอนุกรมมีการส่งข้อมูลได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้น การส่งข้อมูลประเภทนี้จึงช้ากว่าการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิต

การสื่อสารข้อมูล

เมื่อกล่าวถึงการติดต่อสื่อสารในอดีตอาจหมายถึงการพูดคุยกันของมนุษย์ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง การใช้ภาษาพูดหรือผ่านทางตัวอักษร โดยเป็นการสื่อสารในระยะใกล้ๆ ต่อมาเทคโนโลยีก้าวหน้าได้มีการพัฒนาการสื่อสารเข้ากับการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลขึ้นและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น การใช้โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารเองก็ได้รับการพัฒนาความสามารถขึ้นมาเป็นลำดับ และเข้ามามีบทบาททุกวงการ ดังนั้นยุคสารสนเทศนี้การสื่อสารข้อมูลจึงหมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงหรือวีดีทัศน์ระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสารซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้องค์ประกอบหลักของระบบสื่อสารข้อมูลมีอยู่ 5 อย่าง ได้แก่
- ผู้ส่ง(sender)
- ผู้รับ(receiver)
- ข่าวสาร(message)
- สื่อกลาง(media)
- โพรโทคอล(protocol)

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว
การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2) ความถูกต้องของข้อมูล
โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วในการทำงาน
โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4) ต้นทุนประหยัด
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น เราสามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

ระบบเครือข่ายและการสื่อสารบนเครือข่าย

การติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว เช่น โทรศัพท์ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ต่อมามีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ความต้องการในการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ที่เรียก ระบบเครือข่าย (Network System) ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
ในตอนเริ่มต้นของยุคสื่อสารเมื่อประมาณ พ।ศ। 2513 – 2515 ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันมีมากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ยังมีราคาสูงมาก เมื่อเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่แล้วบางอย่างการสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายในระยะนั้นจึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้บริการโดยผู้ใช้สามารถติดต่อผ่านเครื่องปลายทาง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยของไมโครคอมพิวเตอร์ พบว่าขีดความสามารถในด้านความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีความเร็วมากกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ประมาณ 10 เท่า แต่ราคาแพงกว่าหลายพันเท่า ทำให้การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายและกระจายออกไป การสื่อสารจึงกลายเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องแทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กับเครื่องปลายทางแบบกระจาย
ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็กๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกันขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นทั้งระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงานในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบันระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ
ข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์สามารถส่งต่อ คัดลอก จัดพิมพ์ทำสำเนาได้ง่าย เมื่อเทียบกับการคัดลอกด้วยมือซึ่งต้องใช้เวลามากและเสี่ยงต่อการทำข้อมูลผิดพลาดอีกด้วย วิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูล กำลังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงานที่เรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) ระบบดังกล่าวนี้มักเรียกย่อกันสั้นๆ ว่า โอเอ (OA) เป็นระบบที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานที่เกี่ยวกับเอกสารทั่วไป แล้วส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อโอนย้ายแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ระหว่างแผนกซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือไกลกันคนละเมืองก็ได้ โดยการส่งข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภทที่สามารถผนวกเข้าหากันเป็น
ระบบเดียวได้ อุปกรณ์เหล่านั้นอาจเป็นโทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายซึ่งนักเรียนจะได้เรียนต่อไป
บทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่ง คือการให้บริการข้อมูล หลายประเทศจัดให้มีฐานข้อมูลไว้บริการ เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ ฐานข้อมูลของสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ในมหาวิทยาลัยอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือและตำราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อมายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น การติดต่อจะผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้การได้รับข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หน้าต่างฟอร์ม

คือ ส่วนที่ใช้ในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ของซอฟต์แวร์ที่จะสร้างขึ้น โดยผู้พัฒนาระบบจะต้องนำคอมโพเนนต์ต่าง ๆ มาวางบนฟอร์มในการสร้างต้องมีฟอร์มอย่างน้อย 1 ฟอร์มเสมอ โปรแกรมจะสร้างให้อัตโนมัติเสมอเมื่อมีการเปิดโปรแกรมและตั้งชื่อให้เป็น Form 1 เสมอ

ส่วนประกอบของหน้าต่างหลักภาษาเดลฟาย

- หน้าต่างฟอร์ม
- หน้าต่างคุณสมบัติของวัตถุ มี 2 แท็บ
* แท็บคุณสมบัติ
* แท็บเหตุการณ์
- หน้าต่างเอดิเตอร์

รูปแบบของคอมโพเนนต์

- ปุ่ม (Button)
- ข้อความ (Label)
- ช่องสำหรับกรอกข้อความ (Edit Box)
- รูปภาพ (Image)

การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ

นำหลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุมาใช้และทำให้การเขียนง่ายขึ้น โดยมีอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก โดยผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถสร้างชิ้นงานได้และสามารถเห็นผลงานตั้งแต่ขณะที่กำลังสร้าง โดยไม่ต้องรอให้สร้างจนเสร็จสมบูรณ์ เครื่องมือที่ระบบเตรียมให้เรียกว่า “คอมโพเนนต์” (component)
ปัจจุบันมีการใช้หลักการเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพหลายภาษา เช่น ภาษาวิชวลเบสิก ภาษาเดลฟาย

การโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ

วัตถุ คือ ส่วนย่อย ๆ ของโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะอย่างแล้วจึงนำวัตถุย่อย ๆ มาประกอบกันเป็นโปรแกรมใหญ่
วัตถุที่สร้างขึ้นมาแล้ว สามารถนำกลับไปใช้กับโปรแกรมอื่นได้อีก โดยผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องสร้างวัตถุเองทุกชิ้น สามารถนำวัตถุที่ผู้อื่นสร้างไว้มาใช้ใหม่ได้ เพียงแค่รู้ว่าวัตถุนั้นทำหน้าที่และเรียกใช้งานอย่างไร เช่น ภาษาจาวา ภาษาซีชาร์ป

คำสั่งในภาษาปาสคาลตามลักษณะการทำงาน

- คำสั่งกำหนดค่า( assignment statement)
- คำสั่งนำข้อมูลออก (output statement)
- คำสั่งนำข้อมูลเข้า (input statement)
- คำสั่งควบคุมลำดับการทำงานของโปรแกรม (control statement)

คำสั่งกำหนดค่า( assignment statement)
เป็นคำสั่งใช้ในการกำหนดค่าให้กับตัวแปร ซึ่งได้ประกาศไว้ในส่วนประกาศ


คำสั่งนำข้อมูลออก (output statement)
เป็นคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์หรือข้อความที่ต้องการออกทางอุปกรณ์ส่งออก เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์

คำสั่งนำข้อมูลเข้า (input statement)
เป็นคำสั่งที่สั่งให้นำข้อมูลจากอุปกรณ์รับเข้าซึ่งอาจเป็นแผงแป้นอักขระเข้าสู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปเก็บในตัวแปรที่มีการประกาศในส่วนประกาศ

คำสั่งควบคุมลำดับการทำงานของโปรแกรม (control statement)
- การควบคุมเกี่ยวกับการทำงานตามเงื่อนไข
- การทำงานแบบทำซ้ำตามที่ได้ออกแบบไว้
- คำสั่งจะสอดคล้องกับการทำงานของโครงสร้างควบคุม

ส่วนอธิบายโปรแกรม
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขในภายหลังก็สามารถทำได้ โดยการใส่เครื่องหมายที่ทำหน้าที่ซ่อนข้อความหลังเครื่องหมายนั้นจากตัวแปลภาษาในขั้นตอนของการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ตัวแปลภาษาจะข้ามข้อความเหล่านั้นไป เครื่องหมายนั้นได้แก่ (*คำอธิบาย*)

โครงสร้างภาษาปาสคาล

1. ส่วนประกาศ (declaration part)
2. ส่วนคำสั่ง (statement part)

ส่วนประกาศ (declaration part)
PROGRAM Average_1; (*Declaration part*)
Var Sum, N, data : integer;
average : real;
ส่วนคำสั่ง
Begin (*main program*)
Write(‘The program will calculate the average of’); (*output statement*)
Write(‘ five integers you enter through the keyboard..’);
WriteIn;
sum :=; (*assignment statement*)
N :=1;
WHILE N <=5 Do (*while loop*)
begin
Write(‘Please enter the number :’);
ReadIn(data); (*input statement*)
sum :=sum+data;
N :=N+1; (*end of while loop*)
End;
Average :=sum5;
Write(‘The average of five numbers is’ ,Average : 6:2);
End. (*end of program*)

ตัวอย่างการทำงานของโปรแกรม

The program will calculate the average of five
Integers you enter through the keyboard…..
Please enter the number : 0
Please enter the number : 3
Please enter the number : 4
Please enter the number : 8
Please enter the number : 12
The average of five numbers is 13.50

การแก้ปัญหากับภาษาปาสคาล

ปาสคาลเป็นภาษาระดับสูงที่ใช้หลักการโปรแกรมโครงสร้างในการเขียนโปรแกรมและเป็นภาษาที่เป็นระบบซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม
โดยแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อย ๆ ชัดเจน จากนั้นจึงค่อยนำมาเชื่อมโยงทำให้สามารถจัดการได้ง่าย

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สัญลักษณ์ของผังงานที่ใช้บ่อย ทิศทาง

จุดเชื่อมต่อหน้ากระดาษ

จุดเชื่อมต่อผังงาน

การปฏิบัติงาน

การรับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล

เริ่มต้นและจบ

ปัญหา คือ สิ่งที่เรายังไม่ทราบคำตอบ และ ยังไม่ทราบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาโจทย์
nลองผิด ลองถูก
nการใช้เหตุผลประกอบ
nวิธีขจัด
nการใช้ตารางแสดงความสัมพันธ์

กระบวนการที่จำเป็นในการแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ
1) การทำความเข้าใจปัญหา - ทำความเข้าใจถ้อยคำต่าง ๆ ในปัญหา - แยกแยะให้ออกว่าสิ่งที่ต้องการหาคืออะไร - ข้อมูลและเงื่อนไขกำหนดให้มีอะไรบ้าง เพียงพอที่จะหาคำตอบได้หรือไม่
2) การวางแผนในการแก้ปัญหา แบ่งได้ 2 กรณีคือ
1 มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาในลักษณะนั้น ๆ มาก่อน
- พิจารณาสิ่งที่ต้องการหา
- เลือกปัญหาเก่าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปัญหาที่จะแก้ทำให้ได้แนวทาง
- ปรับปรุงแนวทางในการแก้ปัญหาเก่าให้สอดคล้องเหมาะสมกับปัญหาใหม่
- วางแผนแก้ปัญหา
2 ไม่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาลักษณะนี้มาก่อน
- พิจารณาสิ่งที่ต้องการหา
- หาวิธีการเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ต้องการหากับข้อมูลที่มีอยู่
- พิจารณาดูว่า ความสัมพันธ์นั้นสามารถหาคำตอบได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือหาความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น
- วางแผนแก้ปัญหา
2.3 ดำเนินการแก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ เมื่อวางแผนเสร็จแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหา ตามแผนที่วางไว้ ระหว่างการดำเนินการ ถ้าเห็นแนวทางอื่นที่ดีกว่า ก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนได้
2.4 ตรวจสอบการแก้ปัญหา เมื่อได้วิธีการแก้ปัญหาแล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบว่า วิธีการที่ใช้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องหรือไม่
3) ดำเนินการแก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้
เมื่อได้มีการวางแผนแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหา ระหว่างการดำเนินการแก้ปัญหา อาจทำให้เห็นแนวทางที่ดีกว่าที่คิดไว้ก็สามารถ ปรับเปลี่ยนได้
4) การตรวจสอบ
ป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบผลลัพธ์ว่า ได้ดำเนินการ แก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ถูกต้องหรือไม่ กระบวนการแก้ปัญหา สามารถสรุปออกมาเป็นแผนภาพดังนี้








ชื่อ.......................................................ห้อง............เลขที่....................ว/ด/ป...................

เรื่อง กระบวนการแก้ปัญหา
ตอนที่ 1
สมมติว่าโรงเรียนของท่านมีปริมาณขยะที่ตกตามพื้นโรงเรียนจำนวนมากซึ่งเกิดจาก
การทิ้งขยะไม่เป็นที่ ให้นักเรียนวางแผนแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา
1. ขั้นการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
2. ขั้นการเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
3. ขั้นการดำเนินการแก้ปัญหา
4. ขั้นการตรวจสอบและปรับปรุง

ตอนที่ 2 ปัญหาลูกเสือเข้าแถว
สมมติว่ามีกองลูกเสือจำนวน 24 คน ผู้กำกับลูกเสือต้องการจัดแถวเป็น 6 แถว
แถวละ 5 คน ลูกเสือคิดไม่ออก ขอให้นักเรียนคิดและเขียนภาพการจัดแถวลูกเสือกองนี้
แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

- สร้างแผนภาพการจัดแถวลูกเสือ 6 แถว แถวละ 5 คน จากลูกเสือ 24 คน
- คำถามข้อที่ 1 ปัจจัยและเงื่อนไขที่กำหนดให้ คือ....................
- คำถามข้อที่ 2 สิ่งที่โจทย์ปัญหาต้องการ คือ..........................
- คำถามข้อที่ 3 ขั้นตอนการแก้ปัญหา คือ................................
- คำถามข้อที่ 4 ผลที่ได้จากการคิดหรือการแก้ปัญหา คือ.........

2. ปริศนาลากเส้น
มีจุด 9 จุด ตามที่กำหนด จงลากเส้นสี่เส้น ให้ผ่านจุดทั้ง 9 จุดนี้ โดยไม่ยกปากกา
แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1 ปัจจัยและเงื่อนไขที่กำหนดให้ คือ..........................................
2. สิ่งที่โจทย์ปัญหาต้องการ คือ.................................................
3. ขั้นตอนการแก้ปัญหา คือ........................................................
4. ผลที่ได้จากการคิดหรือการแก้ปัญหา คือ ........................................

การจำลองความคิดเป็นผังงานแบบลำดับของขั้นตอนการใช้โทรศัพท์


การจำลองความคิดเป็นผังงานแบบเลือกของขั้นตอนการประเมินผลสอบ


การจำลองความคิดเป็นผังงานแบบวนซ้ำของลำดับขั้นตอนการตักน้ำจากตุ่มครั้งละ 1 ขันใส่ถังน้ำจนเต็ม