วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ภาษาระดับสูง

ภาษาระดับสูง : เป็นภาษาระดับสูงโปรแกรมจะเขียนในลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ ทำให้เขียนได้ง่ายขึ้น และสำหรับตัวแปลภาษาโปรแกรมเหล่านี้คือ คอมไพเลอร์ (Compiler) โดยคอมไพเลอร์จะทำหน้าที่แปล Souce Program ให้เป็นOject Program โดยแปลครั้งเดียว ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
ภาษาระดับสูงนี้ถือว่าเป็น ภาษายุคที่สาม (third-generation language) ซึ่งทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970 และมีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น โดยสังเกตได้จากเครื่องเมนเฟรมจากจำนวนร้อยเครื่องเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นเครื่อง อย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงก็ยังคงต้องการตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานต่อไป ตัวแปลภาษาที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปจะเป็นแบบคอมไพเลอร์ ซึ่งแต่ละภาษาก็มีคอมไพเลอร์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งคอมไพเลอร์แต่ละตัวก็จะต่างกันไปบนเครื่องแต่ละชนิดด้วย เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องเลือกใช้คอมไพเลอร์ภาษา COBOL ที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งภาษาใดบนเครื่องที่ต่างกันอาจจะแตกต่างกันได้ เพราะคอมไพเลอร์ที่ใช้ต่างกันนั่นเอง
ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูกออกแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน
ตัวอย่างภาษาโปรแกรมระดับสูง
ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)
ภาษา Basic (BASIC)
ภาษา Pascal (PASCAL)
ภาษา C (C)
ภาษา C++ (C++)
Cobol (COBAL)
ภาษา PL/1 (PL/1)
ภาษา RPG (RPG)
ภาษา Algol (ALGOL)
ADA
JAVA
PHP
ภาษาโปรล็อก (Prolog)
ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี (Objective-C)

ภาษา Fortran(Formula Translator)
ภาษาระดับสูงภาษาแรก เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์เทนจะประกอบด้วยข้อความ คำสั่ง ทีละบรรทัด เป็นประเภทที่เหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มพัฒนาขึ้นใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1954 โดยบริษัท
IBM ได้ว่าจ้างให้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณทางวิทยาศาสตร์
ภาษานี้ได้มีการดัดแปลงแก้ไขมาตลอดจาก FORTRAN I จนมาเป็น FORTRAN 77 ภาษานี้เหมาะกับงานคำนวณมาก จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มวิศวกร นักสถิติและนักวิจัยในการคำนวณจะมีฟังก์ชันต่างๆ ไว้ให้เรียกใช้ได้เต็มที่ เช่น การหารากที่สอง การหาค่าสัมบูรณ์ เป็นต้น แต่ไม่สามารถสั่งพิมพ์ผลหรือรายงานได้ดีเหมือนภาษาโคบอล

ภาษา Basic(Beginning's All Purpose Symbolic Instruction Code)
ภาษาโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นภาษาโปรแกรมที่เรียนรู้ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับใช้ในวงการศึกษา และเป็นภาษาที่นิยมมากที่สุดภาษาหนึ่ง ส่วนมากใช้กับมินิและไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะสื่อสารโต้ตอบได้ทันที (
Interactive language) การเขียนค่อนข้างง่าย การแก้ไขโปรแกรมก็สะดวก ภาษานี้จะต้องใช้ตัวแปลประเภท "ตัวแปลคำสั่ง" (Interpreter) แปลให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลนั้นจะแปลทีละคำสั่ง แล้วปฏิบัติการตามคำสั่งเลย ถ้ามีการสั่งให้ทำซ้ำ ก็จะต้องแปลใหม่ทุกครั้ง ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่เก่าแก่และได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนและใช้นักวิชาการคอมพิวเตอร์เองไม่ชอบภาษานี้ และกล่าวหาว่าเป็นภาษาที่มีโครงสร้างภาษาไม่ค่อยดีจึงไม่ส่งเสริมให้นำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์เห็นไม่ตรงกัน คือคิดว่าเป็นภาษาที่ง่าย ดังนั้นจึงบรรจุตัวแปลภาษานี้เอาไว้ในหน่วยความจำรอม เพื่อให้ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ใช้ภาษานี้ได้

ภาษา Pascal
เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เขียนง่าย ใช้ถ้อยคำน้อย เหมาะกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกันชื่อ ปาสคาล มาจาก
เบลส ปาสคาล นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้คิดไม้บรรทัดสไลด์รูล แต่ภาษานี้เกิดขึ้นหลังจากที่ปาสคาล ตายไปหลายปีแล้ว ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่นักวิชาการคอมพิวเตอร์ท่านหนึ่งได้คิดค้นตามหลักการภาษาคอมพิวเตอร์ที่ดี ต่อมาบรรดาอาจารย์ทั่วโลกได้เห็นพ้องกันว่าจะนำมาใช้เป็นภาษาสำหรับสอนนักเรียนนักศึกษาเป็นภาษาแรก เมื่อรู้ดีแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปเรียนวิธีใช้ภาษาอื่นๆ ปัจจุบันนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการเองก็แนะนำให้ใช้เป็นภาษาสำหรับสอนในระดับมัธยมศึกษา

ภาษา C
เป็นภาษาสมัยใหม่ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูง เป็นภาษาที่นิยมใช้กันมากในการเขียนโปรแกรมสำเร็จรูป ทำกราฟิกส์ก็ได้ รหัสที่ใช้คล้ายกับภาษาเครื่อง ภาษาซี เป็นภาษาที่มีชื่อค่อนข้างแปลก แต่มีความหมายว่าเป็นภาษาที่เกิดหลังภาษา A และ B ซึ่งมีผู้รู้จักกันน้อยกว่า ภาษาซีนี้มีลักษณะที่แปลกคือ สามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ในระดับอุปกรณ์ได้ ดังนั้นนอกจากจะใช้สั่งให้ทำงานประยุกต์ได้แล้วยังใช้สั่งควบคุมการทำงานระดับเครื่องได้ด้วย ขณะนี้ภาษาซีได้รับความนิยมมาก ถ้าผู้ใดรู้ภาษาซีจะได้เปรียบมากในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++
(++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก

ภาษาซีพลัสพลัส (C++)
เป็น
ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการ เขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 Bjarne Stroustrup จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส ได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2003 ในปัจจุบันมาตรฐานของภาษาในเวอร์ชันใหม่ (รู้จักกันในชื่อ C++0x) กำลังอยู่ในขั้นพัฒนารูปแบบของการออกแบบภาษาซีพลัสพลัส ภาษาซีพลัสพลัสได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไป สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมในระดับภาษาเครื่องได้ เช่นเดียวกับภาษาซี ในทางทฤษฎี ภาษาซีพลัสพลัสควรจะมีความเร็วเทียบเท่าภาษาซี แต่ในการเขียนโปรแกรมจริงนั้น ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาที่มีการเปิดกว้างให้โปรแกรมเมอร์เลือกรูปแบบการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่โปรแกรมเมอร์อาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้โปรแกรมที่เขียนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และภาษาซีพลัสพลัสนั้นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนมากกว่าภาษาซี จึงทำให้มีโอกาสเกิดบั๊กขณะคอมไพล์มากกว่า ภาษาซีพลัสพลัสได้รับการออกแบบเพื่อเข้ากันได้กับภาษาซีในเกือบทุกกรณี (ดูเพิ่มเติมที่ Compatibility of C and C++) มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีการเจาะจงแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
ภาษาซีพลัสพลัสถูกออกแบบมาให้รองรับรูปแบบการเขัยนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm)

ภาษา Cobol(Common Business Oriented Language)
ภาษาโปรแกรมสำหรับธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้คิดเฉพาะเจาะจงให้ใช้กับงานประเภทธุรกิจ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในงานธุรกิจใหญ่ๆ เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ ค.ศ. 1961 ในกระทรวงกลาโหมอเมริกัน ส่วนของโปรแกรมจะแบ่งเป็น IDENTIFICATION DIVISION, ENVIRONMENT DIVISION, DATA DIVISION และ PROCEDURE DIVISIONภาษาโคบอลนั้นเน้นใน เรื่องความมีระเบียบในการเขียน อ่านง่าย เข้าใจง่าย การประมวลผลไม่ยุ่งยากเท่าภาษาฟอร์แทรน แต่ต้องการผลลัพธ์ที่จัดรูปสวยงาม ลักษณะของภาษาคล้ายภาษาอังกฤษง่ายๆ เช่น ADD TAX TO PRICE เป็นต้น
คอมพิวเตอร์เมนเฟรมเกือบทุกเครื่องจะต้องมีตัวแปลภาษานี้อยู่ด้วยภาษาโคบอลเป็นภาษาเก่าแก่ภาษาหนึ่ง ชื่อของภาษาก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นภาษาสำหรับใช้งานธุรกิจ ภาษานี้มีลักษณะเป็นประโยคเหมือนภาษาอังกฤษ จึงใช้ง่ายสำหรับผู้ที่ทำงานด้านธุรกิจ ขณะเดียวกันการเขียนโปรแกรมก็เป็นเสมือนคำอธิบายในตัวว่า โปรแกรมนี้ทำงานอะไร
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่เป็นนักคอมพิวเตอร์แล้วจะรู้สึกว่าภาษานี้ยืดยาดไม่น่าใช้ การที่โลกนี้ยังใช้ภาษานี้อยู่ก็เพราะหน่วยงานต่างๆ ยังใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษานี้กันอยู่อีกมาก การจะเลิกไปใช้ภาษาที่ใหม่กว่าจึงทำได้ยากและที่สำคัญคือ เป็นภาษาโปรแกรมที่อิสระจากเครื่อง หมายความว่า โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานบนคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ก็สามารถรันได้บนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง

ภาษา PL/1 (Programming Language/one)
จัดได้ว่าใช้กับงานประเภทใดก็ได้ ผิดกับฟอร์แทรนและโคบอล ซึ่งเหมาะกับงานคนละอย่าง เริ่มใช้มาตั้งแต่ ค.ศ.1976 เป็นภาษาที่ค่อนข้างยากและซับซ้อน มีการใช้เครื่องหมาย ;
(Semicolon) ตอนจบคำสั่งทุกคำสั่งหลายๆคำสั่งจะถูกนำมารวมกันเรียกว่า Procedure ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมเล็กๆ หรือส่วนหนึ่งของโปรแกรมใหญ่ๆก็ได้

ภาษาอาร์พีจี (RPG ย่อมาจาก Report Program Generator)
เริ่มใช้มาตั้งแต่ราวทศวรรษ 1960 ประโยชน์จริงๆยังแคบมาก ส่วนมากใช้เฉพาะในวงการธุรกิจเล็กๆ หรืองานคอมพิวเตอร์เล็กๆ ภาษานี้มุ่งในเรื่องการทำงานโดยเฉพาะรายงาน เป็นต้นว่า บัญชีรับจ่าย การจัดเรียงและเขียนคำสั่ง ของภาษานี้แบ่งเป็นส่วนๆคล้ายภาษาโคบอล แต่ต้องเขียนในกระดาษแบบฟอร์มที่กำหนด การแก้ไขมักจะทำยาก ภาษานี้ไม่เหมาะกับงานที่มีแฟ้มข้อมูลซับซ้อน และการเขียนโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็มักจะไม่เหมือนกันต้องมีการแก้ไขดัดแปลงเล็กน้อยจึงจะใช้ได้ ข้อดีของภาษานี้ก็คือ เรียนรู้ได้ง่าย กฎเกณฑ์ก็มีเล็กน้อย ดีสำหรับการอ่านแฟ้มข้อมูลใหญ่ๆที่มีข้อมูลมากๆ แต่มีการคำนวณน้อยๆ การพิมพ์ผล หรือรายงานจะทำได้สวย ผู้ที่รู้ภาษาโคบอลมาแล้วจะเขียนภาษานี้ได้เลย
ภาษา RPG เป็นภาษาที่มีมานานแล้ว และคิดค้นโดยทีมงานของบริษัทไอบีเอ็ม สำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับกลางและระดับใหญ่ของบริษัทเอง แต่โดยที่ใช้ในอดีตบริษัทสามารถขายเครื่องระดับดังกล่าวได้มาก จึงทำให้มีผู้นิยมใช้ภาษานี้เขียนโปรแกรมค่อนข้างมากเช่นกัน

ภาษาอัลกอล (ALGOL ย่อมาจาก Algolithmic Language)
เริ่มใช้มาตั้งแต่ ค.ศ.1958 ผู้สร้างภาษานี้กำหนดไว้ให้ใช้กับงานทางวิทยาศาสตร์ และงานที่มีการคำนวณมากๆ ภาษานี้คล้ายกับภาษาฟอร์แทรนแต่เป็นที่นิยมมากในยุโรป ในขณะที่ภาษาฟอร์แทรนเป็นที่นิยมในสหรัฐ

ภาษา เอด้า (ADA)
เป็นภาษาหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับอัลกอลและปาสคาล ผู้คิดภาษานี้ที่ตั้งชื่อว่าเอด้า เพื่อเป็นเกียรติแก่
เลดี้ เอด้า ออกุสต้า ซึ่งทำงานร่วมกับ ชาร์ลส แบบเบจ เธอเองเป็นต้นคิดในการทำโปรแกรม จนได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก กระทรวงกลาโหมอเมริกันเป็นผู้ให้การสนับสนุนให้สร้างภาษานี้ขึ้น เพื่อไว้ใช้ในกิจการทหาร ในราว ค.ศ.1980 คนที่ไม่ชอบก็มีมาก ส่วนคนที่ชอบก็ชื่นชมว่าเป็นก้าวใหม่ทางด้านเทคโนโลยีของการสร้างซอฟต์แวร์ ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมนัก แต่ก็กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา

ภาษาจาวา (Java programming language)
เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส
(C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา"' ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

พีเอชพี (PHP)(PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิม Personal Home Page)
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะ
เซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่ง
มาจากภาษา
ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
การแสดงผลของพีเอชพี จะปรากฏในลักษณะ
HTML ซึ่งจะไม่แสดงคำสั่งที่ผู้ใช้เขียน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พีเอชพีแตกต่างจากภาษาในลักษณะไคลเอนต์-ไซด์สคริปต์ เช่น ภาษาจาวาสคริปต์ ที่ผู้ชมเว็บไซต์ สามารถอ่าน ดูและคัดลอกคำสั่งไปใช้เองได้ นอกจากนี้พีเอชพียังเป็นภาษาที่เรียนรู้และเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือช่วยเหลือและคู่มือที่สามารถหาอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความสามารถการประมวลผลหลัก
ของพีเอชพี ได้แก่ การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติจัดการคำสั่ง การอ่านข้อมูลจากผู้ใช้และประมวลผล การอ่านข้อมูลจากดาต้าเบส ความสามารถจัดการกับคุกกี้ ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมในลักษณะ CGI คุณลักษณะอื่นเช่น การประมวลผลตามบรรทัดคำสั่ง (command line scripting) ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสร้างสคริปต์พีเอชพี ทำงานผ่านพีเอชพี พาร์เซอร์ (PHP parser) โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์
หรือเบราว์เซอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Cron (ใน
ยูนิกซ์หรือลีนุกซ์) หรือ Task Scheduler (ในวินโดวส์) สคริปต์เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในแบบ Simple text processing tasks ได้ การแสดงผลของพีเอชพี ถึงแม้ว่าจุดประสงค์หลักใช้ในการแสดงผล HTML แต่ยังสามารถสร้าง XHTML หรือ XML ได้ นอกจากนี้สามารถทำงานร่วมกับคำสั่งเสริมต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลหลัก PDF แฟลช (โดยใช้ libswf และ Ming) พีเอชพีมีความสามารถอย่างมากในการทำงานเป็นประมวลผลข้อความ จาก POSIX Extended หรือ รูปแบบ Perl ทั่วไป เพื่อแปลงเป็นเอกสาร XML ในการแปลงและเข้าสู่เอกสาร XML เรารองรับมาตราฐาน SAX และ DOM สามารถใช้รูปแบบ XSLT ของเราเพื่อแปลงเอกสาร XML เมื่อใช้พีเอชพีในการทำอีคอมเมิร์ซ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น เช่น Cybercash payment, CyberMUT, VeriSign Payflow Pro และ CCVS functions เพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรม
ทำธุรกรรมทางการเงิน

ภาษาโปรล็อก (Prolog)
เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิง
ตรรกะ ได้ชื่อมาจาก PROgrammation en LOGique (logic programming) สร้างขึ้นโดย Alain Colmerauer ราว ค.ศ. 1972 ภาษาโปรล็อกเกิดจากความพยายามที่จะสร้างภาษาที่อาศัยวิธีการทางตรรกศาสตร์แทนที่จะกำหนดคำสั่งอย่างละเอียดให้กับคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรล็อกถูกนำไปใช้ในโปรแกรมสำหรับปัญญาประดิษฐ์ และภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) โดยเฉพาะการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ไวยากรณ์ และความหมายของภาษานั้นเรียบง่ายและชัดเจน (เป้าหมายแรกของภาษาคือเป็นเครื่องมือสำหรับนักภาษาศาสตร์ที่ไม่รู้คอมพิวเตอร์) งานวิจัยจำนวนมากที่ทำให้เกิดการพัฒนาภาษาโปรล็อกในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากโครงการระบบคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า (fifth generation computer systems project - FGCS) ซึ่งเลือกรูปแบบหนึ่งของภาษาโปรล็อกเป็นภาษาแก่น (Kernel Language) ของ
ระบบปฏิบัติการ
ภาษาโปรล็อกมีพื้นฐานมาจาก
แคลคูลัสภาคแสดง (predicate calculus) หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า แคลคูลัสภาคแสดงอันดับที่หนึ่ง (first-order predicate calculus) โดยจำกัดให้ใช้เฉพาะอนุประโยคของฮอร์น (Horn clause) การดำเนินการของโปรแกรมโปรล็อก ก็คือการประยุกต์วิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทโดยใช้รีโซลูชันอันดับหนึ่ง (first-order resolution) แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การทำให้เท่ากัน (unification), การเรียกซ้ำจากส่วนท้าย (tail recursion), การย้อนรอย (backtracking)

ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี (Template:Lang-en)
เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุและมีสมบัติการสะท้อน โดยแรกเริ่ม ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี พัฒนาขึ้นจากภาษาซีโดยยังคงคุณลักษณะของภาษาซีไว้ครบทุกประการเพียงแต่เพิ่มระบบส่งข้อความ (messaging) แบบเดียวกับภาษาสมอลล์ทอล์กเข้าไปเท่านั้น (Objective-C runtime) ปัจจุบันภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีมีคุณสมบัติอื่นๆเพิ่มเติมจากการพัฒนาภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี 2.0 โดยบริษัทแอปเปิล ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีถูกใช้มากใน Cocoa (API) ใน Mac OS X, GNUstep (API) และ Cocotron (API) เป็นต้น ซึ่งระบบเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากมาตรฐาน OpenStep (API) ใน Nextstep (Operating system) โดยมีภาษาภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเป็นภาษาหลัก ปัจจุบัน Mac OS Xใช้ Cocoa เป็นเฟรมเวิร์กสำหรับสร้างโปรแกรมประยุกต์ โดย ไลบรารีและ/หรือ API เหล่านี้เป็นเพียงส่วนเพิ่มขยาย (Software extension) เท่านั้น โปรแกรมที่ใช้ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ส่วนเพิ่มขยายเหล่านี้ก็ยังสามารถคอมไพล์ได้ เช่นอาจใช้แต่ gcc ซึ่งรองรับภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี

ภาษารูบี (Ruby)
เป็น
ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่ได้รับอิทธิพลของโครงสร้างภาษามาจาก ภาษาเพิร์ลกับภาษาเอดา มีความสามารถในเชิงวัตถุแบบเดียวกับภาษาสมอลทอล์ค และมีความสามารถหลายอย่างจากภาษาไพทอน, ภาษาลิสป์, ภาษา Dylan และภาษา CLU ตัวแปลภาษารูบีตัวหลักเป็นซอฟต์แวร์เสรี และเป็นตัวแปลแบบอินเตอร์พรีเตอร์
ประวัติ
ภาษารูบีสร้างโดย
Yukihiro Matsumoto หรือ "Matz" ซึ่งเริ่มพัฒนาเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 และออกรุ่นแรกสู่สาธารณะใน ค.ศ.​1995 ชื่อ "รูบี" ที่แปลว่า ทับทิม นั้นเป็นหินประจำเดือนเกิดของเพื่อนร่วมงานของ Matsumoto โดยรูบีไม่ได้ตั้งใจตั้งชื่อล้อกับ Perl (แปลว่า ไข่มุก) ซึ่งเป็นหินประจำเดือนมิถุนายน ในขณะที่ทับทิมเป็นหินของเดือนกรกฎาคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น