วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์เครือข่าย

1. การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card)
การ์ดเครือข่าย หรือการ์ดแลน หรืออีเธอร์เน็ตการ์ด ทำหน้าที่ในการเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นั้นเข้ากับระบบเครือข่ายได้ เช่น ในระบบแลน เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีการ์ดเครือข่ายที่เชื่อมโยงด้วยสายเคเบิลจึงสามารถทำให้เครื่องติดต่อกับเครือข่ายได้ ส่วนในกรณีเป็นระบบแลนไร้สาย ก็จะต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สาย (Wireless PCI/PCMCIA Card) ร่วมกับอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอกเซสพอยต์ (Wireless Access Point)
2. ฮับ (Hub)
ฮับ คืออุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกันฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ติดต่อยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส(address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต
3. สวิตช์ (Switch)
สวิตซ์ คืออุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเก็ตมาตรวจสอบก่อนแล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีหลายทางไปที่ใด สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
4. เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ทำให้ระบบเครือข่ายที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านของสถาปัตยกรรม หรือมาตรฐานอื่นๆ ให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น สถาปัตยกรรมของเครื่องระดับเมนเฟรมย่อมมีความแตกต่างกับสถาปัตยกรรมเครื่องพีซี แต่ถ้ามีอุปกรณ์เกตเวย์แล้วจะทำให้เครื่องทั้งสองสามารถมีประตูที่ทำให้ทั้งสองระบบเชื่อมโยงกันได้
5. บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับเครือข่ายหลายๆ กลุ่มที่เชื่อมต่อกันเนื่องจากสามารถแบ่งเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันหลายๆ เซกเมนต์แยกออกจากกันได้ ทำให้ข้อมูลในแต่ละเซกเมนต์ไม่ต้องวิ่งไปทั่วทั้งเครือข่าย กล่าวคือบริดจ์สามารถอ่านเฟรมข้อมูลที่ส่งมาได้ว่ามาจากเครื่องในเซกเมนต์ใด จากนั้นจะทำการส่งข้อมูลไปยังเครื่องซึ่งอาจอยู่ในเซกเมนต์เดียวกันหรือต่างเซกเมนต์ก็ได้ ซึ่งความสามารถดังกล่าวทำให้ช่วยลดปัญหาความคับคั่งของข้อมูลในระบบได้
6. รีพีตเตอร์ (Repeater)
รีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ระยะไกลขึ้น คือ รีพีตเตอร์จะปรับปรุงสัญญาณที่อ่อนตัวให้กลับมาเป็นรูปแบบเดิม เพื่อให้สัญญาณสามารถส่งต่อไปได้อีก เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนหลายๆ เซกเมนต์ ซึ่งความยาวของแต่ละเซกเมนต์นั้นจะมีระยะทางที่จำกัด ดังนั้นอุปกรณ์อย่างรีพีตเตอร์ก็จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
7. โมเด็ม (Modem)
โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่งและภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน(Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด โมเด็มภายนอก(External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็น PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
8. เร้าเตอร์ (Router)
ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ เครือข่ายหรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสม เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้องเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและ
สามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ในเส้นทางนั้น

รูปร่างเครือข่าย (Network Topology)

รูปร่างเครือข่ายมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะมีลักษณะการเชื่อมต่อแตกต่างกัน โดยบางรูปแบบมีการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด(point-to-point) และบางรูปแบบมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุด(multipoint)
- การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด(point-to-point) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารสองเครื่อง โดยใช้สื่อกลางหรือช่องทางในการสื่อสารช่องทางเดียวเป็นการจองสายในการส่งข้อมูลระหว่างกันโดยไม่มีการใช้งานสื่อกลางนั้นร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ การเชื่อมต่อลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ทำให้สิ้นเปลืองช่องทางการสื่อสาร
- การเชื่อมต่อแบบหลายจุด(multipoint) เป็นการใช้งานช่องทางการสื่อสารเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะใช้ช่องทางการสื่อสารหนึ่งช่องทางเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารหลายชิ้น โดยมีจุดเชื่อมแยกออกมาจากสายหลัก ดังต่อไปนี้
1) โทโปโลยีแบบ BUS ในระบบเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากในอดีต คือการนำอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายเชื่อมต่อกับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า "บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปแบบของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์(Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณเพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับเข้ามายังบัส อีกทั้งเป็นการป้องกันการชนของสัญญาณข้อมูลอื่นที่เดินทางอยู่ใน BUS สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อ เข้าสู่บัสจะไหลผ่านยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัสจะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลผ่านไป จะเห็นได้ว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือแบบ
􀂃 ควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการ สื่อสารภายในเครือข่ายซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์
􀂃 ควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายจะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสารแทนที่จะเป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการสื่อสารส่ง-รับข้อมูลกันอยู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้น
2) โทโปโลยีแบบ RING เหตุที่เรียกการสื่อสารแบบนี้ว่าเป็นแบบ RING เพราะข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่ายจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์แบบ BUS ในแต่ละโหนดจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมา จากสายสื่อสารเพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไป ให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
3) โทโปโลยีแบบ STAR จากการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว(STAR) หลายแฉกโดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมดทั้งภายใน และภายนอกเครือข่าย นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย โดยเชื่อมต่อเข้ากับไฟล์เซิร์ฟเวอร์อีกที
การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล (แต่ในอุปกรณ์รุ่นใหม่สามารถทำการสลับการทำงานและยอมให้ทำงานได้พร้อมกันคือ Switch HUB) โทโปโลยีแบบ STAR เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันเพราะติดตั้งง่ายและดูแลรักษาง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็ตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้

ชั้นมาตรฐาน 7 ชั้น

1. ชั้นกายภาพ (physical layer) เป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งกระแสบิต(Bit Stream) บนตัวกลางสื่อสารซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางกล(Mechanical) และทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronics) ในการอินเตอร์เฟซและตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล รวมถึงการกำหนดหน้าที่และขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ที่จะต้องอินเตอร์เฟซเพื่อการปฏิบัติงานเมื่อเกิดการส่งข้อมูล
2. ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (data link layer) เป็นชั้นที่ทำหน้าที่การส่งข้อมูลในลักษณะ Node-to-Node ซึ่งจะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการเข้าถึงและการใช้งานบนชั้นกายภาพ ด้วยการจะจัดการกับข้อมูลอย่างไรให้อยู่ในรูปแบบของเฟรม เพื่อจะจัดส่งเฟรมนี้อย่างไรบนเครือข่าย โดยต้องมีความวางใจได้ถึงการนำพาข้อมูลจากลำดับชั้นกายภาพที่ปราศจากข้อผิดพลาดใดๆ เพื่อบริการให้กับลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป
3. ชั้นเครือข่าย (network layer)ทำหน้าที่ควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางโดยผ่านจุดต่างๆ บนเครือข่ายให้เป็นไปตามเส้นทางที่กำหนดรวบรวมและแยกแยะข้อมูลเพื่อหาเส้นทางในการส่งข้อมูลที่เหมาะสม
4. ชั้นขนส่ง (transport layer)เป็นชั้นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งข้อมูลในลักษณะ End-to-End ด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือถึงการรับประกันการบริการรับส่งข้อมูล ว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นถึงผู้รับแน่นอน หากเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการส่ง ก็จะมีการส่งใหม่
5. ชั้นส่วนงาน (session layer) ทำหน้าที่สร้างการติดต่อระหว่างเครื่องต้นทางและปลายทาง ตลอดจนดูแลการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องทั้งสองให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพโดยกำหนดขอบเขตการรับ-ส่ง คือกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่งโดยจะเพิ่มเติมรูปแบบการรับ-ส่ง ข้อมูลว่าเป็นแบบข้อมูลชุดเดียว หรือหลายชุดพร้อมๆ กัน เช่น โมดูล(module) ของการนำเสนอผ่านเว็บ หากการสื่อสารภายในชั้นนี้เกิดล้มเหลว ทำให้ข้อมูลเสียหาย ก็อาจจำเป็นต้องเริ่มต้นการทำงานของชั้นนี้ใหม่
6. ชั้นการนำเสนอข้อมูล (presentation layer) จะแปลงข้อมูลที่ส่งมาให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมของเครื่องผู้รับเข้าใจ รวมทั้งการจัดรูปแบบและนำเสนอข้อมูลโดยกำหนดรูปแบบภาษา ชนิด และวิธีการเข้าถึงข้อมูลของเครื่องผู้ส่งให้เครื่องผู้รับเข้าใจ เช่น การนำเสนอผ่านเว็บ การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล
7. ชั้นการประยุกต์ (application layer) เป็นลำดับชั้นซึ่งอนุญาตให้ยูสเซอร์ที่ใช้งานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันต่างๆ สามารถเข้าถึงเครือข่ายโดยจะเตรียมการเพื่อการอินเตอร์เฟซระหว่างยูสเซอร์กับคอมพิวเตอร์ และสนับสนุนการบริการต่างๆ เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ การรีโมตระยะไกลเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือถ่ายโอนข้อมูล การแชร์ฐานข้อมูลและบริการอื่นๆ

โพรโทคอล (Protocol)

โพรโทคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทคอลมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ
ในปี คศ.1977 องค์กร ISO (international Organization for Standard) ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการศึกษาจัดรูปแบบมาตรฐาน และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่ายและใน ปี ค.ศ. 1983 องค์กร ISO ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐานในชื่อของ "รูปแบบ OSI " (Open System Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเชื่อมต่อระบบ คอมพิวเตอร์ อักษร "O" หรือ "Open" ก็ หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตรฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหา สู่ระหว่างกันได้ จุดมุ่งหมายของการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วยการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยฝ่ายผู้ส่งและผู้รับ และจะเริ่มด้วยฝ่ายผู้ส่งต้องการส่งข้อมูลโดยผ่านชั้นมาตรฐาน 7 ชั้น

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สามารถจำแนกตามระยะทางของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
ในความเป็นจริงประเภทเครือข่ายทั้งสามจะนำมาใช้งานบนวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยจุดสำคัญอยู่ที่ลักษณะการใช้งานและระยะทางในการเชื่อมต่อ เช่น หากต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อใช้งานภายในอาคาร หรือสำนักงาน เครือข่ายท้องถิ่นก็ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
1. Local area network (LAN) หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร มีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสูง ประมาณ 10-1000 Mbps สื่อที่ใช้มักจะเป็นสื่อแบบสายสัญญาณ ส่วนใหญ่จะใช้ในองค์กร สำนักงาน เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยหรือเครือข่าย ภายในบริษัท นอกจากนี้เครือข่ายแบบท้องถิ่นยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.1 Peer to Peer เป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยกันไม่เกิน 10 เครื่อง ซึ่งอาจเรียกว่าเวิร์กกรุ๊ป(Workgroup) โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายดังกล่าวจะไม่มีเครื่องใดเฉพาะที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการข้อมูล(Server) ซึ่งทุกๆ เครื่องในเครือข่ายจะมีความเสมอภาคกันหมด โดยแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเป็นได้ทั้งเครื่องลูกข่ายและเครื่องบริการ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเครื่องนั้นถูกร้องขอใช้ทรัพยากรหรือต้องการใช้ทรัพยากรจากเครื่องอื่น
เป้าหมายของเครือข่ายประเภทนี้คือต้องการให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เป็นสำคัญและใช้ต้นทุนต่ำ
1.2 Client/Server เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือหลายเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องศูนย์บริการข้อมูล(Server) ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่าโฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer) โดยเครื่องเซริฟ์เวอร์นี้จะทำหน้าที่ในการควบคุมการเข้าถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์บนเครือข่าย และเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในเครือข่ายส่วนเครื่องไคลเอนต์นั้นก็คือเครื่องลูกข่ายที่จะต้องล็อกอินเข้าสู่เครือข่ายก่อน จึงสามารถใช้บริการทรัพยากรต่างๆ บนเครือข่ายได้
โดยยูสเซอร์แต่ละคนที่ล็อกอินเข้าสู่ระบบนั้นจะมีสิทธิการใช้งานที่แตกต่างกันตามที่ผู้จัดการเครือข่าย(Admin) เป็นผู้กำหนดสิทธิการใช้งานให้ เครือข่ายประเภทนี้จะมีระบบการป้องกันความปลอดภัยที่ดีกว่าแบบ Peer to पीर
2. Metropolitan area network (MAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ซึ่งอาจครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลหรือทั้งอำเภอ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดนี้เกิดจาก การเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่นหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
3. Wide area network (WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากภายในเครือข่ายประกอบไปด้วย เครือข่ายแบบ LAN และ MAN พื้นที่ของเครือข่ายแบบ WAN สามารถครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลก เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการครอบคลุมทั่วโลกก็เป็นเครือข่ายแบบ WAN เครือข่ายหนึ่งเช่นกัน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อเชื่อมโยงให้มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้เพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันและการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้น จากเดิม การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสื่อสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่าย
เพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง