วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำ ผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ของสื่อประเภทนั้นๆ ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้
􀁹 แบนด์วิดท์ (Bandwidth)คือแถบความถี่ของช่องสัญญาณ ซึ่งหากมีช่องสัญญาณขนาดใหญ่ ก็จะส่งผลให้ภายในหน่วยเวลาจะสามารถเคลื่อนย้ายปริมาณข้อมูลได้จำนวนมากขึ้น

สื่อกลางประเภทมีสาย
1) สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียวสามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน ในขณะที่มีสัญญาณส่งผ่านสายสายคู่บิดเกลียว 1 คู่ จะแทน
การสื่อสารได้ 1 ช่องทางสื่อสาร (Channel) ในการใช้งานจริง เช่นสายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียว อยู่ภายในเป็นร้อย ๆ คู่ สายคู่บิดเกลียว 1 คู่ จะมีขนาดประมาณ 0।016-0.036 นิ้ว สายคู่บิดเกลียว สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว จะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่งสัญญาณจึงจำเป็นต้องมี "เครื่องขยาย"

(Amplifier) สัญญาณ สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อก ในระยะทางไกล ๆ หรือทุก 5-6 กม। ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี "เครื่องทบทวน" (Repeater) สัญญาณทุก ๆ ระยะ 2-3 กม. เพราะว่าแต่ละคู่ของสายคู่บิดเกลียว จะแทนการทำงาน 1 ช่องทาง สายประเภทนี้มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ
ก) สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถัดชั้นนอกที่หนาอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ข) สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้น ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำ จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างสายคู่บิดเกลียวชนิดนี้ เช่น สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ตามบ้าน


หัวเชื่อมต่อ (Modular Plugs) สายคู่บิดเกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11ที่เป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และหัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเกลียว 4 คู่ ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น ดังรูปที่ 12 จะแสดงสาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น