วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สามารถช่วยจัดการให้ผู้ใช้เรียกใช้หรือติดต่อกับเครื่องได้ทันที โดยรูปแบบของการติดต่อกับเครื่องจะขึ้นกับระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้ง ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นสามกลุ่มด้วยกัน คือ
1 กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าทีละบรรทัด
ระบบติดต่อแบบนี้เป็นระบบติดต่อแบบแรกที่พัฒนามาพร้อมๆ กับคอมพิวเตอร์ เป็นการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งไม่เอื้อต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เท่าใดนัก เพราะผู้ใช้ต้องจำคำสั่งต่างๆ ให้ได้เสียก่อน เช่น การเรียกใช้คำสั่งของดอส แต่หากใช้จนเกิดความชำนาญ ข้อดีคือสามารถเรียกโปรแกรมมาทำงานได้รวดเร็วที่สุด ใช้พื้นที่หน่วยความจำน้อย เพราะลดการแสดงผลในส่วนของกราฟิก






2 กลุ่มเลือกรายการเมนู
ในระบบนี้จะแสดงรายการย่อยของคำสั่งต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นข้อความตัวอักษร ไม่เป็นรูปกราฟิก ผู้ใช้เพียงแต่เลื่อนตัวชี้ แถบสี หรือสัญลักษณ์ลูกศรขึ้นหรือลงไปยังรายการที่ต้องการ แล้วกดปุ่มเลือกรายการนั้น ระบบติดต่อคอมพิวเตอร์แบบนี้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องจำคำสั่งมาก เพราะจะมีรายการคำสั่งแสดงไว้ให้เลือก





3 กลุ่มเลือกสัญรูป
มีลักษณะคล้ายระบบกลุ่มเลือกรายการเมนู เพียงแต่ว่ารายการของกลุ่มนี้จะเป็นรูปภาพหรือสัญรูปสำหรับเลือก โดยมีเมาส์เป็นตัวเลื่อนตัวชี้และเลือกรายการ ในบางกรณีก็อาจเป็นรายการเมนูย่อยของข้อมูลในระบบ ระบบติดต่อคอมพิวเตอร์ระบบนี้ใช้งานง่าย ไม่ต้องเรียนรู้หรือจดจำคำสั่งที่ซับซ้อน ระบบนี้มีผู้นิยมหรือกล่าวถึงกันมากคือ ระบบติดต่อผู้ใช้เชิงกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface หรือ GUI ซอฟต์แวร์ประเภท GUI เป็นซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่จึงใช้พื้นที่หน่วยความจำมาก ต้องใช้ตัวประมวลผลที่มีขีดความสามารถสูงจึงจะทำงานได้ผล







ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุค

3.1 ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ซึ่ง คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำภาษาเครื่องได้ยาก ดังนั้นจึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร
3.2 ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ แต่อย่างไรก็ตาม ภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก โดยใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์ (Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
3.3 ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์
แปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องมีอยู่ 2 ชนิด คือ
คอมไพเลอร์ (Compiler) และ อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
· คอมไพเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
· อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงแปลคำสั่งลำดับต่อไป
ดังนั้นข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง สำหรับตัวอย่างภาษาระดับสูง ได้แก่ ภาษาโคบอล(COBOL) ฟอร์แทรน (FORTRAN) เบสิก (Basic) ปาสคาล (Pascal) และภาษาซี(C) เป็นต้น
3.4 ภาษายุคที่ 4 (Fourth-Generation Languages: 4GL)
เนื่องจากภาษาระดับสูงนั้นเป็นภาษาที่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน(Procedural) จึงทำให้ในบางครั้งจำเป็นต้องเขียนโค้ดโปรแกรมที่ยาวยืดเยื้อกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ดังนั้นจึงเกิดภาษายุคที่ 4 ขึ้น ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน (Non-Procedural) เพียงแต่สั่งว่าต้องการข้อมูลอะไร ก็สามารถแสดงผลลัพธ์ได้ตามต้องการ ตัวอย่างภาษายุคที่ 4 เช่น ชุดคำสั่งภาษา SQL (Structured Query Language)
3.5 ภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 ที่เรียกว่า การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming: OOP) ซึ่งจะมองทุกสิ่งเป็นวัตถุ (Object) โดยวัตถุจะประกอบด้วยข้อมูล (Data) และวิธีการ (Method) และจะมีคลาส (Class) เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของวัตถุ รวมทั้งความสามารถในการถ่ายทอดคุณสมบัติ (Inheritance) การ Encapsulation และการนำกลับมาใช้ใหม่
ภาษาเชิงวัตถุสามารถนำมาพัฒนาระบบงานที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างภาษานี้เช่น Visual Basic, C++ และ JAVA เป็นต้น

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Languages)

เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์

ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์

การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม

ภาษาระดับสูง

ภาษาระดับสูง : เป็นภาษาระดับสูงโปรแกรมจะเขียนในลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ ทำให้เขียนได้ง่ายขึ้น และสำหรับตัวแปลภาษาโปรแกรมเหล่านี้คือ คอมไพเลอร์ (Compiler) โดยคอมไพเลอร์จะทำหน้าที่แปล Souce Program ให้เป็นOject Program โดยแปลครั้งเดียว ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
ภาษาระดับสูงนี้ถือว่าเป็น ภาษายุคที่สาม (third-generation language) ซึ่งทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970 และมีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น โดยสังเกตได้จากเครื่องเมนเฟรมจากจำนวนร้อยเครื่องเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นเครื่อง อย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงก็ยังคงต้องการตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานต่อไป ตัวแปลภาษาที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปจะเป็นแบบคอมไพเลอร์ ซึ่งแต่ละภาษาก็มีคอมไพเลอร์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งคอมไพเลอร์แต่ละตัวก็จะต่างกันไปบนเครื่องแต่ละชนิดด้วย เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องเลือกใช้คอมไพเลอร์ภาษา COBOL ที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งภาษาใดบนเครื่องที่ต่างกันอาจจะแตกต่างกันได้ เพราะคอมไพเลอร์ที่ใช้ต่างกันนั่นเอง
ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูกออกแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน
ตัวอย่างภาษาโปรแกรมระดับสูง
ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)
ภาษา Basic (BASIC)
ภาษา Pascal (PASCAL)
ภาษา C (C)
ภาษา C++ (C++)
Cobol (COBAL)
ภาษา PL/1 (PL/1)
ภาษา RPG (RPG)
ภาษา Algol (ALGOL)
ADA
JAVA
PHP
ภาษาโปรล็อก (Prolog)
ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี (Objective-C)

ภาษา Fortran(Formula Translator)
ภาษาระดับสูงภาษาแรก เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์เทนจะประกอบด้วยข้อความ คำสั่ง ทีละบรรทัด เป็นประเภทที่เหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มพัฒนาขึ้นใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1954 โดยบริษัท
IBM ได้ว่าจ้างให้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณทางวิทยาศาสตร์
ภาษานี้ได้มีการดัดแปลงแก้ไขมาตลอดจาก FORTRAN I จนมาเป็น FORTRAN 77 ภาษานี้เหมาะกับงานคำนวณมาก จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มวิศวกร นักสถิติและนักวิจัยในการคำนวณจะมีฟังก์ชันต่างๆ ไว้ให้เรียกใช้ได้เต็มที่ เช่น การหารากที่สอง การหาค่าสัมบูรณ์ เป็นต้น แต่ไม่สามารถสั่งพิมพ์ผลหรือรายงานได้ดีเหมือนภาษาโคบอล

ภาษา Basic(Beginning's All Purpose Symbolic Instruction Code)
ภาษาโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นภาษาโปรแกรมที่เรียนรู้ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับใช้ในวงการศึกษา และเป็นภาษาที่นิยมมากที่สุดภาษาหนึ่ง ส่วนมากใช้กับมินิและไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะสื่อสารโต้ตอบได้ทันที (
Interactive language) การเขียนค่อนข้างง่าย การแก้ไขโปรแกรมก็สะดวก ภาษานี้จะต้องใช้ตัวแปลประเภท "ตัวแปลคำสั่ง" (Interpreter) แปลให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลนั้นจะแปลทีละคำสั่ง แล้วปฏิบัติการตามคำสั่งเลย ถ้ามีการสั่งให้ทำซ้ำ ก็จะต้องแปลใหม่ทุกครั้ง ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่เก่าแก่และได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนและใช้นักวิชาการคอมพิวเตอร์เองไม่ชอบภาษานี้ และกล่าวหาว่าเป็นภาษาที่มีโครงสร้างภาษาไม่ค่อยดีจึงไม่ส่งเสริมให้นำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์เห็นไม่ตรงกัน คือคิดว่าเป็นภาษาที่ง่าย ดังนั้นจึงบรรจุตัวแปลภาษานี้เอาไว้ในหน่วยความจำรอม เพื่อให้ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ใช้ภาษานี้ได้

ภาษา Pascal
เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เขียนง่าย ใช้ถ้อยคำน้อย เหมาะกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกันชื่อ ปาสคาล มาจาก
เบลส ปาสคาล นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้คิดไม้บรรทัดสไลด์รูล แต่ภาษานี้เกิดขึ้นหลังจากที่ปาสคาล ตายไปหลายปีแล้ว ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่นักวิชาการคอมพิวเตอร์ท่านหนึ่งได้คิดค้นตามหลักการภาษาคอมพิวเตอร์ที่ดี ต่อมาบรรดาอาจารย์ทั่วโลกได้เห็นพ้องกันว่าจะนำมาใช้เป็นภาษาสำหรับสอนนักเรียนนักศึกษาเป็นภาษาแรก เมื่อรู้ดีแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปเรียนวิธีใช้ภาษาอื่นๆ ปัจจุบันนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการเองก็แนะนำให้ใช้เป็นภาษาสำหรับสอนในระดับมัธยมศึกษา

ภาษา C
เป็นภาษาสมัยใหม่ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูง เป็นภาษาที่นิยมใช้กันมากในการเขียนโปรแกรมสำเร็จรูป ทำกราฟิกส์ก็ได้ รหัสที่ใช้คล้ายกับภาษาเครื่อง ภาษาซี เป็นภาษาที่มีชื่อค่อนข้างแปลก แต่มีความหมายว่าเป็นภาษาที่เกิดหลังภาษา A และ B ซึ่งมีผู้รู้จักกันน้อยกว่า ภาษาซีนี้มีลักษณะที่แปลกคือ สามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ในระดับอุปกรณ์ได้ ดังนั้นนอกจากจะใช้สั่งให้ทำงานประยุกต์ได้แล้วยังใช้สั่งควบคุมการทำงานระดับเครื่องได้ด้วย ขณะนี้ภาษาซีได้รับความนิยมมาก ถ้าผู้ใดรู้ภาษาซีจะได้เปรียบมากในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++
(++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก

ภาษาซีพลัสพลัส (C++)
เป็น
ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการ เขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 Bjarne Stroustrup จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส ได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2003 ในปัจจุบันมาตรฐานของภาษาในเวอร์ชันใหม่ (รู้จักกันในชื่อ C++0x) กำลังอยู่ในขั้นพัฒนารูปแบบของการออกแบบภาษาซีพลัสพลัส ภาษาซีพลัสพลัสได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไป สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมในระดับภาษาเครื่องได้ เช่นเดียวกับภาษาซี ในทางทฤษฎี ภาษาซีพลัสพลัสควรจะมีความเร็วเทียบเท่าภาษาซี แต่ในการเขียนโปรแกรมจริงนั้น ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาที่มีการเปิดกว้างให้โปรแกรมเมอร์เลือกรูปแบบการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่โปรแกรมเมอร์อาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้โปรแกรมที่เขียนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และภาษาซีพลัสพลัสนั้นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนมากกว่าภาษาซี จึงทำให้มีโอกาสเกิดบั๊กขณะคอมไพล์มากกว่า ภาษาซีพลัสพลัสได้รับการออกแบบเพื่อเข้ากันได้กับภาษาซีในเกือบทุกกรณี (ดูเพิ่มเติมที่ Compatibility of C and C++) มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีการเจาะจงแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
ภาษาซีพลัสพลัสถูกออกแบบมาให้รองรับรูปแบบการเขัยนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm)

ภาษา Cobol(Common Business Oriented Language)
ภาษาโปรแกรมสำหรับธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้คิดเฉพาะเจาะจงให้ใช้กับงานประเภทธุรกิจ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในงานธุรกิจใหญ่ๆ เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ ค.ศ. 1961 ในกระทรวงกลาโหมอเมริกัน ส่วนของโปรแกรมจะแบ่งเป็น IDENTIFICATION DIVISION, ENVIRONMENT DIVISION, DATA DIVISION และ PROCEDURE DIVISIONภาษาโคบอลนั้นเน้นใน เรื่องความมีระเบียบในการเขียน อ่านง่าย เข้าใจง่าย การประมวลผลไม่ยุ่งยากเท่าภาษาฟอร์แทรน แต่ต้องการผลลัพธ์ที่จัดรูปสวยงาม ลักษณะของภาษาคล้ายภาษาอังกฤษง่ายๆ เช่น ADD TAX TO PRICE เป็นต้น
คอมพิวเตอร์เมนเฟรมเกือบทุกเครื่องจะต้องมีตัวแปลภาษานี้อยู่ด้วยภาษาโคบอลเป็นภาษาเก่าแก่ภาษาหนึ่ง ชื่อของภาษาก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นภาษาสำหรับใช้งานธุรกิจ ภาษานี้มีลักษณะเป็นประโยคเหมือนภาษาอังกฤษ จึงใช้ง่ายสำหรับผู้ที่ทำงานด้านธุรกิจ ขณะเดียวกันการเขียนโปรแกรมก็เป็นเสมือนคำอธิบายในตัวว่า โปรแกรมนี้ทำงานอะไร
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่เป็นนักคอมพิวเตอร์แล้วจะรู้สึกว่าภาษานี้ยืดยาดไม่น่าใช้ การที่โลกนี้ยังใช้ภาษานี้อยู่ก็เพราะหน่วยงานต่างๆ ยังใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษานี้กันอยู่อีกมาก การจะเลิกไปใช้ภาษาที่ใหม่กว่าจึงทำได้ยากและที่สำคัญคือ เป็นภาษาโปรแกรมที่อิสระจากเครื่อง หมายความว่า โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานบนคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ก็สามารถรันได้บนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง

ภาษา PL/1 (Programming Language/one)
จัดได้ว่าใช้กับงานประเภทใดก็ได้ ผิดกับฟอร์แทรนและโคบอล ซึ่งเหมาะกับงานคนละอย่าง เริ่มใช้มาตั้งแต่ ค.ศ.1976 เป็นภาษาที่ค่อนข้างยากและซับซ้อน มีการใช้เครื่องหมาย ;
(Semicolon) ตอนจบคำสั่งทุกคำสั่งหลายๆคำสั่งจะถูกนำมารวมกันเรียกว่า Procedure ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมเล็กๆ หรือส่วนหนึ่งของโปรแกรมใหญ่ๆก็ได้

ภาษาอาร์พีจี (RPG ย่อมาจาก Report Program Generator)
เริ่มใช้มาตั้งแต่ราวทศวรรษ 1960 ประโยชน์จริงๆยังแคบมาก ส่วนมากใช้เฉพาะในวงการธุรกิจเล็กๆ หรืองานคอมพิวเตอร์เล็กๆ ภาษานี้มุ่งในเรื่องการทำงานโดยเฉพาะรายงาน เป็นต้นว่า บัญชีรับจ่าย การจัดเรียงและเขียนคำสั่ง ของภาษานี้แบ่งเป็นส่วนๆคล้ายภาษาโคบอล แต่ต้องเขียนในกระดาษแบบฟอร์มที่กำหนด การแก้ไขมักจะทำยาก ภาษานี้ไม่เหมาะกับงานที่มีแฟ้มข้อมูลซับซ้อน และการเขียนโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็มักจะไม่เหมือนกันต้องมีการแก้ไขดัดแปลงเล็กน้อยจึงจะใช้ได้ ข้อดีของภาษานี้ก็คือ เรียนรู้ได้ง่าย กฎเกณฑ์ก็มีเล็กน้อย ดีสำหรับการอ่านแฟ้มข้อมูลใหญ่ๆที่มีข้อมูลมากๆ แต่มีการคำนวณน้อยๆ การพิมพ์ผล หรือรายงานจะทำได้สวย ผู้ที่รู้ภาษาโคบอลมาแล้วจะเขียนภาษานี้ได้เลย
ภาษา RPG เป็นภาษาที่มีมานานแล้ว และคิดค้นโดยทีมงานของบริษัทไอบีเอ็ม สำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับกลางและระดับใหญ่ของบริษัทเอง แต่โดยที่ใช้ในอดีตบริษัทสามารถขายเครื่องระดับดังกล่าวได้มาก จึงทำให้มีผู้นิยมใช้ภาษานี้เขียนโปรแกรมค่อนข้างมากเช่นกัน

ภาษาอัลกอล (ALGOL ย่อมาจาก Algolithmic Language)
เริ่มใช้มาตั้งแต่ ค.ศ.1958 ผู้สร้างภาษานี้กำหนดไว้ให้ใช้กับงานทางวิทยาศาสตร์ และงานที่มีการคำนวณมากๆ ภาษานี้คล้ายกับภาษาฟอร์แทรนแต่เป็นที่นิยมมากในยุโรป ในขณะที่ภาษาฟอร์แทรนเป็นที่นิยมในสหรัฐ

ภาษา เอด้า (ADA)
เป็นภาษาหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับอัลกอลและปาสคาล ผู้คิดภาษานี้ที่ตั้งชื่อว่าเอด้า เพื่อเป็นเกียรติแก่
เลดี้ เอด้า ออกุสต้า ซึ่งทำงานร่วมกับ ชาร์ลส แบบเบจ เธอเองเป็นต้นคิดในการทำโปรแกรม จนได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก กระทรวงกลาโหมอเมริกันเป็นผู้ให้การสนับสนุนให้สร้างภาษานี้ขึ้น เพื่อไว้ใช้ในกิจการทหาร ในราว ค.ศ.1980 คนที่ไม่ชอบก็มีมาก ส่วนคนที่ชอบก็ชื่นชมว่าเป็นก้าวใหม่ทางด้านเทคโนโลยีของการสร้างซอฟต์แวร์ ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมนัก แต่ก็กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา

ภาษาจาวา (Java programming language)
เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส
(C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา"' ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

พีเอชพี (PHP)(PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิม Personal Home Page)
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะ
เซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่ง
มาจากภาษา
ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
การแสดงผลของพีเอชพี จะปรากฏในลักษณะ
HTML ซึ่งจะไม่แสดงคำสั่งที่ผู้ใช้เขียน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พีเอชพีแตกต่างจากภาษาในลักษณะไคลเอนต์-ไซด์สคริปต์ เช่น ภาษาจาวาสคริปต์ ที่ผู้ชมเว็บไซต์ สามารถอ่าน ดูและคัดลอกคำสั่งไปใช้เองได้ นอกจากนี้พีเอชพียังเป็นภาษาที่เรียนรู้และเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือช่วยเหลือและคู่มือที่สามารถหาอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความสามารถการประมวลผลหลัก
ของพีเอชพี ได้แก่ การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติจัดการคำสั่ง การอ่านข้อมูลจากผู้ใช้และประมวลผล การอ่านข้อมูลจากดาต้าเบส ความสามารถจัดการกับคุกกี้ ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมในลักษณะ CGI คุณลักษณะอื่นเช่น การประมวลผลตามบรรทัดคำสั่ง (command line scripting) ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสร้างสคริปต์พีเอชพี ทำงานผ่านพีเอชพี พาร์เซอร์ (PHP parser) โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์
หรือเบราว์เซอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Cron (ใน
ยูนิกซ์หรือลีนุกซ์) หรือ Task Scheduler (ในวินโดวส์) สคริปต์เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในแบบ Simple text processing tasks ได้ การแสดงผลของพีเอชพี ถึงแม้ว่าจุดประสงค์หลักใช้ในการแสดงผล HTML แต่ยังสามารถสร้าง XHTML หรือ XML ได้ นอกจากนี้สามารถทำงานร่วมกับคำสั่งเสริมต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลหลัก PDF แฟลช (โดยใช้ libswf และ Ming) พีเอชพีมีความสามารถอย่างมากในการทำงานเป็นประมวลผลข้อความ จาก POSIX Extended หรือ รูปแบบ Perl ทั่วไป เพื่อแปลงเป็นเอกสาร XML ในการแปลงและเข้าสู่เอกสาร XML เรารองรับมาตราฐาน SAX และ DOM สามารถใช้รูปแบบ XSLT ของเราเพื่อแปลงเอกสาร XML เมื่อใช้พีเอชพีในการทำอีคอมเมิร์ซ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น เช่น Cybercash payment, CyberMUT, VeriSign Payflow Pro และ CCVS functions เพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรม
ทำธุรกรรมทางการเงิน

ภาษาโปรล็อก (Prolog)
เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิง
ตรรกะ ได้ชื่อมาจาก PROgrammation en LOGique (logic programming) สร้างขึ้นโดย Alain Colmerauer ราว ค.ศ. 1972 ภาษาโปรล็อกเกิดจากความพยายามที่จะสร้างภาษาที่อาศัยวิธีการทางตรรกศาสตร์แทนที่จะกำหนดคำสั่งอย่างละเอียดให้กับคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรล็อกถูกนำไปใช้ในโปรแกรมสำหรับปัญญาประดิษฐ์ และภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) โดยเฉพาะการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ไวยากรณ์ และความหมายของภาษานั้นเรียบง่ายและชัดเจน (เป้าหมายแรกของภาษาคือเป็นเครื่องมือสำหรับนักภาษาศาสตร์ที่ไม่รู้คอมพิวเตอร์) งานวิจัยจำนวนมากที่ทำให้เกิดการพัฒนาภาษาโปรล็อกในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากโครงการระบบคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า (fifth generation computer systems project - FGCS) ซึ่งเลือกรูปแบบหนึ่งของภาษาโปรล็อกเป็นภาษาแก่น (Kernel Language) ของ
ระบบปฏิบัติการ
ภาษาโปรล็อกมีพื้นฐานมาจาก
แคลคูลัสภาคแสดง (predicate calculus) หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า แคลคูลัสภาคแสดงอันดับที่หนึ่ง (first-order predicate calculus) โดยจำกัดให้ใช้เฉพาะอนุประโยคของฮอร์น (Horn clause) การดำเนินการของโปรแกรมโปรล็อก ก็คือการประยุกต์วิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทโดยใช้รีโซลูชันอันดับหนึ่ง (first-order resolution) แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การทำให้เท่ากัน (unification), การเรียกซ้ำจากส่วนท้าย (tail recursion), การย้อนรอย (backtracking)

ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี (Template:Lang-en)
เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุและมีสมบัติการสะท้อน โดยแรกเริ่ม ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี พัฒนาขึ้นจากภาษาซีโดยยังคงคุณลักษณะของภาษาซีไว้ครบทุกประการเพียงแต่เพิ่มระบบส่งข้อความ (messaging) แบบเดียวกับภาษาสมอลล์ทอล์กเข้าไปเท่านั้น (Objective-C runtime) ปัจจุบันภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีมีคุณสมบัติอื่นๆเพิ่มเติมจากการพัฒนาภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี 2.0 โดยบริษัทแอปเปิล ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีถูกใช้มากใน Cocoa (API) ใน Mac OS X, GNUstep (API) และ Cocotron (API) เป็นต้น ซึ่งระบบเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากมาตรฐาน OpenStep (API) ใน Nextstep (Operating system) โดยมีภาษาภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเป็นภาษาหลัก ปัจจุบัน Mac OS Xใช้ Cocoa เป็นเฟรมเวิร์กสำหรับสร้างโปรแกรมประยุกต์ โดย ไลบรารีและ/หรือ API เหล่านี้เป็นเพียงส่วนเพิ่มขยาย (Software extension) เท่านั้น โปรแกรมที่ใช้ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ส่วนเพิ่มขยายเหล่านี้ก็ยังสามารถคอมไพล์ได้ เช่นอาจใช้แต่ gcc ซึ่งรองรับภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี

ภาษารูบี (Ruby)
เป็น
ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่ได้รับอิทธิพลของโครงสร้างภาษามาจาก ภาษาเพิร์ลกับภาษาเอดา มีความสามารถในเชิงวัตถุแบบเดียวกับภาษาสมอลทอล์ค และมีความสามารถหลายอย่างจากภาษาไพทอน, ภาษาลิสป์, ภาษา Dylan และภาษา CLU ตัวแปลภาษารูบีตัวหลักเป็นซอฟต์แวร์เสรี และเป็นตัวแปลแบบอินเตอร์พรีเตอร์
ประวัติ
ภาษารูบีสร้างโดย
Yukihiro Matsumoto หรือ "Matz" ซึ่งเริ่มพัฒนาเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 และออกรุ่นแรกสู่สาธารณะใน ค.ศ.​1995 ชื่อ "รูบี" ที่แปลว่า ทับทิม นั้นเป็นหินประจำเดือนเกิดของเพื่อนร่วมงานของ Matsumoto โดยรูบีไม่ได้ตั้งใจตั้งชื่อล้อกับ Perl (แปลว่า ไข่มุก) ซึ่งเป็นหินประจำเดือนมิถุนายน ในขณะที่ทับทิมเป็นหินของเดือนกรกฎาคม

ภาษาระดับต่ำ

ภาษาระดับต่ำ (low-level programming language) ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาที่อิงกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ใดสถาปัตยกรรมหนึ่ง ซึ่งไมโครโพรเซสเซอร์แต่ละรุ่น หรือ แต่ละตระกูล ก็มักมีภาษาระดับต่ำที่แตกต่างกัน และโดยปกติแล้ว หนึ่งคำสั่งในภาษาระดับต่ำ จะหมายถึงการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานหนึ่งอย่าง (1 instruction = 1 operation) ภาษาระดับต่ำ มี 2 ภาษา คือ
- ภาษาเครื่อง เป็น ภาษาโปรแกรมรุ่นที่หนึ่ง (first-generation programming language
1GL)ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่ไมโครโพรเซสเซอร์สามารถเข้าใจ คำสั่งเป็นตัวเลขล้วนๆ การอ่านและเขียนอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ จึงไม่ค่อยมีการใช้ภาษาเครื่องโดยตรง
- ภาษาแอสเซมบลี เป็น ภาษาโปรแกรมรุ่นที่สอง (second-generation programming language 2GL) ซึ่งเป็นการปรับภาษาเครื่องให้สามารถเขียนได้สะดวกขึ้นโดยการพิมพ์คำสั่งที่เป็นตัวอักษรแทนตัวเลข เวลาเขียนเสร็จ จะต้องใช้ตัวแปลโปรแกรมจึงจะใช้งานได้ และถึงแม้ว่าไม่ใช้ภาษาเครื่องโดยตรง ผู้เขียนโปรแกรมยังจำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของไมโครโพรเซสเซอร์ที่กำลังเขียนเป็นอย่างดี

ภาษาเครื่อง

ประวัติความเป็นมา
ก่อนปี ค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้
เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือแต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่าง ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก
โครงสร้างของคำสั่งในภาษาเครื่อง
คำสั่งในภาษาเครื่องจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
- โอเปอเรชันโคด (Operation Code) เป็นคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ เช่น การบวก (Addition) การลบ (Subtraction) เป็นต้น
- โอเปอแรนด์ (Operands)เป็นตัวที่ระบุตำแหน่งที่เก็บของข้อมูลที่จะเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปปฏิบัติการตามคำสั่งในโอเปอเรชันโคด

ลักษณะของโปรแกรม
ประกอบด้วยกลุ่มของรหัสคำสั่งซึ่งประกอบด้วยเลขฐานสองเรียงต่อกัน ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทราบเทคนิคการใช้รหัสคำสั่งและจะต้องจำตำแหน่งของคำสั่งและข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ เพราะเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละบริษัทจะใช้ภาษาเครื่องของตนเอง และผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี ดังนั้นการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องจึงมีผู้เขียนอยู่ในวงจำกัด เพราะต้องมีความรู้ทางด้านเครื่องและรหัสของเครื่องจึงจะเขียนโปรแกรมได้ ภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบจะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบใหม่ก็ต้องเขียนโปแกรมใหม่

ข้อดีของภาษาเครื่อง
- เมื่อคำสั่งเข้าสู่เครื่องจะสามารถทำงานได้ทันที
- สามารถสร้างคำสั่งใหม่ๆได้ โดยที่ภาษาอื่นทำไม่ได้
- ต้องการหน่วยความจำเพียงเล็กน้อย

ข้อเสียของภาษาเครื่อง
- ต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งยาวทำให้ผิดพลาดได้ง่าย
- ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดีจึง สามารถเขียนโปรแกรมได้ และถ้าเครื่องที่มี
- ฮาร์ดแวร์ต่างกันจะใช้โปรแกรมร่วมกันไม่ได้

แผนผัง แสดงการแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์




ภาษาคอมพิวเตอร์

3. ภาษาคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้งานกันทั่วไป จะต้องได้รับการพัฒนาหรือสร้างขึ้นโดยผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ โดยโปรแกรมเมอร์จะต้องเขียนชุดคำสั่งอย่างเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้กลายเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และชุดคำสั่งเหล่านั้นจะต้องเป็น”ภาษา” (Language) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ หรือภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจก็จะต้องใช้ “ตัวแปลภาษา” (Translator) เป็นสื่อกลาง ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือภาษาเครื่อง ภาษาระดับต่ำ และภาษาระดับสูง
3.1 ภาษาเครื่อง
การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
3.2 ภาษาระดับต่ำเนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียน ดังนั้นจึงมีผู้นิยมใช้น้อย ได้มีการพัฒนาภาษคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน และใช้การตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า ภาษาอิงเครื่อง (machine – oriented language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นตัวเลขล้วน การใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทันที จำเป็นต้องมีการแปลโปรแกรมจากภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องก่อน โดยอาศัยโปรแกรมในการแปลที่มีชื่อว่า แอสเซมเบลอร์ (assembler) ซึ่งแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้นแอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปล โปแกรมภาษาแอสเซมบลีของชนิดอื่น ๆ ได้ ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำในทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อย และมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
3.3 ภาษาระดับสูงภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือ ลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายในทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี C และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น
โปรแกรมภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่งเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
การแปลภาษาระดับสูงให้ภาษาเครื่องโปรแกรมแปลภาษาที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่
- คอมไพเลอร์ (compiler)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า โปรแกรมต้นฉบับ (source program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (object program) ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วยภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรม และสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีกโดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก ตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษาแบบนี้ ได้แก่
โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน โปรแกรมแปลภาษาโคบอล โปรแกรมแปลภาษาปาสคาล โปรแกรมแปลภาษาซี
- อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปล และประมวลผลทีละคำสั่ง ข้อเสียของอินเทอร์พรีเตอร์ก็คือ ถ้านำโปรแกรมนี้มาใช้งานอีกจะต้องทำการแปลโปรแกรมทุกครั้ง ภาษาบางภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

1.2 ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility Software) เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุน เพิ่ม หรือขยายขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่จะมีโปรแกรมอรรถประโยชน์มาให้ใช้งานอยู่แล้ว เช่น
Windows Explorer เป็นเครื่องมือแสดงไฟล์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูภาพ และแก้ไของค์ประกอบของไฟล์ได้
Uninstaller เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการยกเลิกโปรแกรมที่ทำการติดตั้งไว้ในระบบ เมื่อผู้ใช้ทำการติดตั้งโปรแกรม ระบบปฏิบัติการจะทำการบันทึกโปรแกรมนั้นไว้ในระบบไฟล์ หากผู้ใช้ต้องการลบโปรแกรมนั้นออกจากเครื่องก็สามารถใช้ เครื่องมือยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมได้
Disk Scanner เป็นเครื่องมือตรวจสอบดิสก์ เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการตรวจหาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ ผู้ใช้สามารถกำหนดให้เครื่องมือตรวจสอบดิสก์นี้ทำการซ่อมส่วนที่เสียหายได้
ฯลฯ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้ผลิตได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อจำหน่าย ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้งานได้โดยตรง โดยไม่ต้องไปพัฒนาเอง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไป ผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงานของตน เช่น ครูนำมาใช้ในการผลิตสื่อการสอน นักเรียนนำมาใช้ในการทำรายงาน เป็นต้น หรือผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไป ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปซึ่งนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน คือ
Oด้านประมวลผลคำ
Oด้านการวิเคราะห์ข้อมูล หรือตารางทำงาน
Oด้านการเก็บและเลือกค้นข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล
Oด้านกราฟิก และนำเสนอข้อมูล
Oด้านการติดต่อสื่อสารทางไกล
Oด้านการพิมพ์ตั้งโต๊ะ
Oด้านการลงทุนและจัดการการเงิน
Oด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม
Oด้านการจำลอง เกม และการตัดสินใจ
กลุ่มซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานมาก และจำเป็นต้องมีประจำหน่วยงาน คือ ซอฟต์แวร์ ด้านการประมวลผลคำ ด้านตารางทำงาน ด้านระบบฐานข้อมูล และด้านกราฟิก ซอฟต์แวร์สำเร็จส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์เชิงพาณิชย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ยกเว้นเฉพาะกลุ่มแรก คือโปรแกรมประมวลคำที่ประเทศไทยมีการสร้าง และพัฒนาขึ้นมาเอง เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานร่วมกับภาษาไทย และยังมีการนำซอฟต์แวร์เดิมมาดัดแปลงและเพิ่มเติมส่วนที่ใช้งานเป็นภาษาไทย
1) ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software)เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับการพิมพ์เอกสาร หน้าที่ของซอฟต์แวร์ประมวลผลคำคือ เป็นซอฟต์แวร์ใช้สำหรับจัดพิมพ์เอกสาร จัดทำรายงาน รวมทั้งงานพิมพ์ต่าง ๆ โดยบันทึกหรือพิมพ์ข้อความต่าง ๆ ลงในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสามารถจัดเก็บเอกสารที่พิมพ์แล้วลงในหน่วยความจำรองเพื่อใช้งานในภายหลังได้ด้วย ซึ่งในสมัยก่อนการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ ซึ่งจะต้องอาศัยฝีมือและความชำนาญของผู้พิมพ์ ซึ่งเมื่อเกิดการพิมพ์ผิดพลาดต้องใช้ยางลบ หรือน้ำยาลบคำผิด หรือบางครั้งต้องพิมพ์เอกสารนั้นใหม่ เพราะไม่สามารถจะแก้ไขในเอกสารเดิมได้ หรือการเคลื่อนย้ายกลุ่มข้อความที่พิมพ์แล้ว ก็ไม่สามารถทำได้ ในกรณีที่มีงานพิมพ์ปริมาณมาก หรือเนื้อหามีรูปแบบซ้ำ ๆ กันผู้พิมพ์ดีดก็ต้องพิมพ์เอกสารเหล่านั้นใหม่ทุกครั้ง ทำให้เกิดปัญหาการพิมพ์ผิดพลาด การทำงานซ้ำ ๆ ทำงานปริมาณมาก ในปัจจุบันมีการนำเอาซอฟต์แวร์ประมวลผลมาใช้งาน ซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานเป็นอย่างมาก สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุนการพิมพ์เอกสารอีกด้วย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำมีคุณสมบัติพื้นฐานในการทำงานดังต่อไปนี้
- สามารถพิมพ์เอกสารโดยแสดงผลบนจอภาพทำให้ง่ายต่อการตรวจทาน และแก้ไข
- สามารถแก้ไขข้อความที่พิมพ์ผิดพลาดได้โดยง่าย เช่น การลบข้อความที่พิมพ์เกินหรือการแทรกข้อความที่ตกหล่น รวมทั้งการแก้ไขคำผิด เป็นต้น
- สามารถเคลื่อนย้ายข้อความหรือประโยคจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งภายในเอกสารเดียวกัน หรือต่างเอกสารกันได้โดยง่าย
- สามารถจัดเก็บเอกสารที่พิมพ์ขึ้น ในหน่วยความจำรองเพื่อนำมาใช้งานได้ภายหลัง โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์เอกสารนั้นซ้ำอีก
- สามารถค้นหาคำ หรือประโยคได้
- ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบของประโยค ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบไวยากรณ์ทางภาษา และวิเคราะห์ความน่าอ่าน หรือความสละสลวยของเอกสาร วิธีการของการตรวจสอบนี้จะใช้หลักวิชาทางปัญญาประดิษฐ์ว่าด้วยกฏ และข้อเท็จจริงของภาษาศาสตร์ ต่าง ๆ เช่น การสะกดคำ การตรวจสอบความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ รวมทั้งการใช้ศัพท์บัญญัติต่าง ๆ เป็นต้น
- เอกสารที่จัดพิมพ์สวยงามน่าอ่าน เช่น สามารถกำหนดขนาด และรูปแบบของตัวอักษร รูปแบบของเอกสาร กำหนดสีตัวอักษร การนำภาพมาประกอบในเอกสารที่พิมพ์ได้ และการสร้างข้อมูลในรูปแบบตารางได้อีกด้วย ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำที่นิยมใช้ได้แก่ Microsoft Word, Pladao Writer
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในงานด้านการคำนวณ หลักการทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน คือ การให้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนกระดาษทำการหรือเวิร์คชีด (worksheet) ของผู้ใช้งานซึ่งทำงานในรูปของคอลัมน์ (column) และแถว (row) โดยนำตัวเลขที่บันทึกในแต่ละแถว หรือคอลัมน์ มาทำการคำนวณตามสูตรคณิตศาสตร์ที่กำหนดไว้เช่น การนำตัวเลขในแถวหรือคอลัมน์ใดมาคำนวณเพื่อจัดเป็นค่าของคอลัมน์ใหม่ เมื่อมีค่าในคอลัมน์ หรือแถวใดเปลี่ยนไป ค่าที่สัมพันธ์กันจะเปลี่ยนตามไปด้วยโดยอัตโนมัติจุดเด่นที่สำคัญของซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้คือ ช่วยทำให้งานคำนวณสะดวก รวดเร็ว ซึ่งสามารถกำหนดค่าของข้อมูลเพื่อคำนวณผลลัพธ์ในลักษณะต่าง ๆ ได้ รวมทั้งความสามารถในการแสดงผลลัพธ์ในรูปของตาราง และกราฟ หรือแผนภูมิต่าง ๆ ได้ซึ่งทำให้สามารถอ่านผลลัพธ์ได้ง่ายขึ้น
ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ มีคุณสมบัติพื้นฐานในการทำงานด้านต่อไปนี้
- สามารถบันทึกข้อมูลซึ่งเป็นได้ทั้งตัวเลขข้อความ และสูตรทางคณิตศาสตร์ในแต่ละช่องของกระดาษทำการ โดยคอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณตามสูตรคณิตศาสตร์ที่กำหนดไว้ได้
- สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลจากตำแหน่งหนึ่ง ไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งในกระดาษทำการ ซึ่งปรากฏบนจอภาพได้โดยง่าย
- สามารถคัดลอกข้อความ ตัวเลข หรือสูตรคณิตศาสตร์จากตำแหน่งหนึ่ง ไปยังอีกตำแหน่งได้โดยไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลชุดดังกล่าวใหม่
- สามารถแก้ไขเพิ่มเติม ลบข้อมูลตัวเลข ข้อความ หรือสูตรคณิตศาสตร์ ได้สะดวก
- สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในกระดาษทำการไว้ในหน่วยความจำำรองเพื่อใช้งานในภายหลังได้
- สามารถแสดงผลที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ
- การพิมพ์ผลลัพธ์อาจจะพิมพ์ผลออกทางเครื่องพิมพ์ในรูปของเอกสาร หรือจัดทำเป็นสไลด์หรือแผ่นใสเพื่อใช้ในการนำเสนอได้ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Excel และ Pladoa Clc เป็นต้น
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ปัจจุบันนี้มีข้อมูลมีบทบาทสำคัญทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน และการวางแผนการตัดสินใจ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อใช้งานด้านการจัดการฐานข้อมูลจึงนับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยงานด้านการจัดเก็บข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการจัดเก็บ และการเรียกข้อมูลที่จัดเก็บออกมาใช้ได้ง่าย
คุณสมบัติพื้นฐานในการทำงานของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในการจัดการข้อมูล คือ
- การจัดเก็บข้อมูลมีความซ้ำซ้อน ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
- การค้นหาข้อมูลจะทำได้ยาก เนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บมีหลายชุด ซึ่งต้องใช้เวลาในการค้นหา
- การดูแลรักษา และปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัยจะยุ่งยาก เนื่องจากความซ้ำซ้อนของข้อูลซึ่งจัดเก็บหลายชุด ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมีมากมายหลายโปรแกรม ส่วนใหญ่เน้นการใช้งานที่ง่าย และใช้งาน ในระดับตั้งแต่ผู้ใช้คนเดียว หรือเชื่อมโยงเป็นกลุ่ม ตลอดจนเชื่อมต่อฐานข้อมูลอื่น ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Microsoft Access และ MySQL เป็นต้น
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อใช้งานด้านการนำเสนอข้อมูล (Presentation) ในรูปแบบสไลด์ ซึ่งในการแสดงผลจะต้องมีรูปแบบที่น่าสนใจ ข้อความเข้าใจง่าย กระชับได้ใจความ สามารถแสดงผลในรูปแบบกราฟ ข้อความ รูปภาพ หรือเสียงได้ ซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft Power Point เป็นต้น
5 ) ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิก
ซอฟต์แวร์ชนิดนี้มีเครื่องมือสามารถปรับเปลี่ยนรูปภาพให้ได้ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ปรับความเข้มของแสง ปรับเปลี่ยนความแตกต่างของสีวัตถุในภาพ และสามารถตัดแปะองค์ประกอบของภาพหลาย ๆ ภาพมาสร้างเป็นภาพใหม่ได้เหมือนการสร้างศิลปะ นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนลักษณะของภาพ ลักษณะของสีให้มีพื้นสีแบบต่าง ๆ ได้ บางโปรแกรมสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นำเข้า เช่น เครื่องกราดตรวจ จากกล้องดิจิทัล สามารถจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลสามารถนำมาแก้ไขได้อีก ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Photoshop, Paint Brush เป็นต้น
6) ซอฟต์แวร์ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกขนาดสามารถเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อติดต่อ สื่อสารกันได้ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศต่าง ๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ ชนิดนี้ควบคุมการติดต่อสื่อสารทั้งในเครื่องผู้ส่ง และในเครื่องผู้รับด้วย ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการติดต่อสื่อสาร และการเข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีหลายชนิดตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการรับส่งแฟกซ์ การสนทนา การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การพูดคุยด้วยไมโครโฟน การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่จะต้องใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่เรียกว่า Web Browser หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Browser ซอฟต์แวร์เหล่านี้บางครั้งเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีพร้อมกับซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ เช่น Browser Internet Explorer ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows
2.2 ซอฟต์แวร์เฉพาะ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่จะต้องมีการรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ ก่อนการพัฒนาขึ้นมาเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานได้ตามความต้องการนั้น การพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ชนิดนี้ส่วนใหญ่เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในงานด้านธุรกิจ ที่ผู้ใช้ไม่สามารถหาซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้งานได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น ระบบงานบัญชี ระบบงานคลังสินค้า ระบบงานขาย ระบบงานห้องสมุด ระบบงานทะเบียนประวัติ ระบบบริหารงานบุคคล ระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเว็บ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องว่าจ้างนักพัฒนาระบบหรือบริษัทรับพัฒนาระบบ ให้วิเคราะห์ความต้องการ ออกแบบระบบ เขียนโปรแกรม และติดตั้งเพื่อใช้งาน ดังนั้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้จึงตรงตามความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง

ประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการใช้งาน

เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ แต่ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมาก ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และเราสามารถแบ่งประเภทของระบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1.1 ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์
1.2 ประเภทใช้หลายงาน (multitasking)ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจัดสรรทั้งเวลา และเนื้อที่ที่ต้องใช้ในการประมวลผลคำสั่งของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด เช่น แบ่งปันเวลาในกาประมวลผลของซีพียู และแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล และคำสั่งของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 , 98และ XP
1.3 ประเภทใช้งานหลายคน (multiuser) ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผลทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา ระบบปฏิบัติการกลุ่มนี้เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที

ซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การนำเข้าข้อมูลของอุปกรณ์นำเข้า การประมวลผลของหน่วยประมวลผล การจัดสรรหน่วยความจำสำรอง และการแสดงผลของอุปกรณ์แสดงผล เป็นต้น เมื่อผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ชุดคำสั่งนั้นก็คือ “ซอฟต์แวร์ระบบ” นั่นเอง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้น เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมใช้ คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
1.1 ระบบปฏิบัติการเนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้
แต่ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมาก ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ
O ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System :DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างลักษณะคำสั่ง ในระบบปฏิบัติการดอส เช่น C:\>copy C:\mydocument\data.doc A:\myfileคำสั่งนี้เป็นการใช้คำสั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูลชื่อ data.doc ที่อยู่ใน Drive C Folder mydocument เอาไปไว้ที่ Drive A ใน Folder myfile
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
O ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) ระบบปฏิบัติการนี้พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจาก 2 ระบบแรก เนื่องจากมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) เป็นแบบที่เรียกว่าระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface : GUI) หรือที่เรียกว่า จียูไอ คือมีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการเลือก (menu) หรือสัญรูป (icon) ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์แทนการพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้น ทั้งยังมีสีสันทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้น ระบบปฏิบัติการวินส์โดวส์นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป ทั้งนี้นอกจากจะเป็นความง่ายในการใช้งานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังเป็นเพราะหลังจากที่บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตระบบปฏิบัติการนี้ออกสู่ตลาด ก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นหลายประเภท เช่น ซอฟต์แวร์ในกลุ่มซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน หรือซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้ในทุก ๆ ด้าน ทำให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลาย นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ที่สนับสนุนการใช้งานกับเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วินโดวส์ 3.0 (Windows 3.0) ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ทำงานบนเครื่องเดียว พัฒนาเป็นรุ่นหรือเวอร์ชั่น ที่สามารถทำงานเป็นกลุ่ม หรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ และพัฒนาต่อมาเป็นวินโดวส์ 95 (Windows 95) วินโดวส์ 98 (Windows 98) วินโดวส์เอ็มอี (Windows ME) และพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น วินโดวส์ เอ็นที (Windows NT) วินโดวส์ 2000 (Windows 2000) และวินโดวส์ เอ็กซ์พี (Windows XP) หรือแม้แต่ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาอย่างวินโดวส์ ซีอี (Windows CE)
O ระบบปฏิบัติการโอเอสทู (OS2) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดวส์ แต่บริษัท ผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และ การใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
O ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (LINUX) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดยนักศึกษาชื่อว่า “Linus Torvalds” จากประเภทฟินแลนด์ LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIX แต่มี ขนาดเล็กกว่าและทำงานได้เร็วกว่า ในช่วงแรกของการพัฒนา LINUX พัฒนาขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และพัฒนาขึ้นมาเพื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ในช่วงหลังความนิยมใน การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้น จึงมีผู้พัฒนาส่วนประกอบอื่น ๆ ของ LINUX เพื่อเพิ่ม ความสามารถในการทำงานทางด้านเครือข่าย และผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย

ประเภทของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภท คือ
O ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) ประกอบด้วย
- ระบบปฎิบัติการ
- โปรแกรมอรรถประโยชน์
O ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
- ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
- ซอฟต์แวร์เฉพาะ

ความหมายของซอฟต์แวร์

ความหมายของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ (software)หรือ ส่วนชุดคำสั่ง และยังมีการสะกด ซอฟต์แวร์เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้วยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆคำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู। เทอร์กีย์ (John W। Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริงซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program)คือ กลุ่มชุดคำสั่งที่ใช้อธิบายชิ้นงาน หรือกลุ่มงานที่จะประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจหมายถึง ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่นั้นเป็นชุดคำสั่งที่ออกแบบตามอัลกอริทึม โดยปกติแล้วเขียนโดยโปรแกรมเมอร์ หรือไม่ก็สร้างโดยโปรแกรมอื่น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมากและเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์ เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงาน คอมพิวเตอร์รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง